วันพุธ, พฤศจิกายน 08, 2549
http://www.nkgen.com/19.htm
วิปัสสนูปกิเลส หรืออุปกิเลส ๑๐ แห่งวิปัสสนา หมายถึง สิ่งที่ทําให้ใจขุ่นมัวหรือหลง จึงทําให้รับธรรมได้ยาก ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนา กล่าวโดยย่อก็คือ กิเลสที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง จึงหมายรวมถึงสมาธิและฌานอันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติวิปัสสนาด้วย เป็นกิเลสชนิดที่ทําให้ติดได้อย่างเหนียวแน่นและยาวนานและให้โทษรุนแรงได้ ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงญาณหรือความเข้าใจยังไม่พร้อมบริบูรณ์ จึงไปติดอยู่ในผลของสมาธิหรือฌานอย่างผิดๆคือติดเพลิน หรือมิจฉาญาณด้วยความเข้าใจยังไม่ถูกต้องหรืออวิชชาเป็นเหตุนั่นเอง และถ้าไม่รู้ระลึกเลยโดยไม่แก้ไขแล้วก็จักติดอยู่ที่นี่ทําให้ไม่สามารถเข้าไปถึงปัญญาชอบ(สัมมาญาณ)อย่างแท้จริงได้ ตลอดจนส่งผลร้ายอย่างรุนแรงทางด้านอื่นๆ คือ ก่อให้เกิดผลร้ายทั้งทางจิต เช่น หดหู่ วิกลจริต วิปลาส และทางกาย เช่น เจ็บปวด, เจ็บป่วยต่างๆ ตามมาอย่างมากมายเกินคาดคิด (อ่านรายละเอียดใน ติดสุข) ดังนั้นเมื่อเกิดผลร้ายขึ้นจึงไม่รู้ตัวอีกเสียด้วยว่าเป็นเพราะปฏิบัติผิดด้วยอวิชชา
"เจ้าวิปัสสนูปกิเลสนี้ มีอิทธิและอํานาจ จะทําให้เกิดความน้อมใจเชื่อ(webmaster - อธิโมกข์)อย่างรุนแรงโดยไม่รู้เท่าทันว่าเป็นการสําคัญผิด ซึ่งเป็นการสําคัญผิดอย่างสนิทสนมแนบเนียน และเกิดความภูมิใจในตนเองอยู่เงียบๆ บางคนถึงสําคัญตนว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วยซํ้า บางรายสําคัญผิดอย่างมีจิตกําเริบยโสโอหัง หรือถึงขนาดที่เรียกกันว่าเป็นบ้าวิกลจริตก็มี " ( อตุโล ไม่มีใดเทียม หน้า๑๑๙ )
"อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจมุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้ว ก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก........" (จากโมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทส เทสก์รังสี)
"อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมด ก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้น..........." (จากโมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทส เทสก์รังสี)
วิปัสสนูปกิเลส
//---- Choice of variables ----
glow_color="blue"
glow_min=2
glow_max=5
glow_speed=300
function f_glow(){glow_size+=glow_const
if (glow_size>glow_max glow_size
วิปัสสนูปกิเลส หรือ อุปกิเลส ๑๐ นี้ ดูจากหัวข้อทั้ง ๑๐ แล้ว ดูอย่างไม่พิจารณา ดูแต่ตามสภาพ ดูชื่อ ดูแล้วน่าชื่นชมน่ายินดี ชื่อเหมือนข้อธรรมสําคัญๆทางพระพุทธศาสนา แต่กลับหมายถึงการปฏิบัติแบบผิดๆที่เป็นโทษ ตรงข้ามกับข้อธรรมนั้นๆ เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งการปฏิบัติสมถวิปัสสนา ซึ่งเกิดแก่ผู้ได้สมถวิปัสสนาอ่อนๆ แล้วเกิดความหลงผิด,เข้าใจผิดคิดว่า ตนประสพความสําเร็จ หรือบรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว อันมักเกิดขึ้นจากผลของการปฏิบัติสมถสมาธิหรือฌานอย่างผิดๆเป็นเหตุปัจจัย คือเน้นปฏิบัติแต่สมาธิแต่ขาดการวิปัสสนาให้เกิดปัญญา จึงพาให้เกิดการทะนงตน(มานะ)และหลงผิด หลงยึดด้วยทิฏฐุปาทานหรือสีลัพพตุปาทานโดยไม่รู้ตัว และบังเกิดผลร้ายบางประการ ทั้งต่อกายและจิตและบุคคลรอบข้างอย่างรุนแรง และทำให้ไม่สามารถดําเนินก้าวหน้าต่อไปใน "วิปัสสนาญาณ" อันถูกต้องดีงามได้
อุปกิเลส๑๐แห่งวิปัสสนา อันมี ๑๐ มีดั่งนี้
๑. โอภาส หรือแสง เช่น นิมิต เห็นแสงสว่างต่างๆ เห็นแสงสว่างรอบๆสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น พระพุทธรูปที่เป็นกสิณ หรือเห็นเจิดจ้าสว่างไสวไปทั่ว หรือแสงออกจากร่างกายตน, รูปนิมิตต่างๆ แล้วไปน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์อย่างเป็นจริงเป็นจัง สิ่งเหล่านี้ความจริงแล้วต้องเกิดขึ้นอันเป็นปกติตามธรรมชาติของจิตเมื่อเป็นฌานสมาธิ เกิดจากภวังค์ ยิ่งโดยเฉพาะในระยะแรกๆ แต่ทําให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดไปน้อมเชื่อ น้อมคิดปรุงแต่งไปว่า เป็น บุญ อิทธิปาฏิหาริย์ อันตื่นตา ตื่นใจ ไม่เคยประสบมาก่อน เลยไปยึดมั่นหมายมั่นพึงพอใจหรือน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริงในโอภาสหรือนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นด้วยอวิชชา จึงทําให้ติดเพลิน(นันทิ-อันคือตัณหา)อยู่ในวังวนของความตื่นตาตื่นใจ เมื่อเกิดนันทิอันคือตัณหา ย่อมเกิดอุปาทาน ภพ(รูปภพ) ชาติ คือการเกิดขึ้นของกองทุกข์ตามมาโดยไม่รู้ตัว และเกิดความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆไปทางฤทธิ์ ทางเดช ทางบุญ ทางกุศลโดยไม่รู้ตัว
๒. ปิติ ความอิ่มเอิบ ซาบซ่าน อันเกิดขึ้นทั้งต่อกายและใจอันได้จากการปฏิบัติสมถะหรือสมาธิ ปีติมีอยู่ ๕ แบบซึ่งก่อให้เกิดความอัศจรรย์ ความสุข ความสบาย ความพิศวง พึงพอใจ หรือลุ่มหลง แปลกใจ ทําให้หลงใหลอยู่ในเวทนาและสังขารขันธ์นี้ว่าเป็นของดีของวิเศษ โดยลืมตัวเพราะอวิชชาความไม่รู้ว่าเป็นธรรมชาติธรรมดาๆ อันพึงเกิดแก่ผู้ปฏิบัติถูกต้องทั่วๆไปเป็นธรรมดา จึงเกิดการติดเพลิน ไปยึดไปอยากด้วยอธิโมกข์, จริงๆแล้วองค์ฌานต่างๆอันมี วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข อุเบกขา(เอกคตารมณ์)ล้วนเป็นเพียงแค่ทางผ่านของฌานสมาธิ อันบังเกิดแก่ทุกผู้นาม ทุกเผ่าพันธ์ ทุกชาติ ทุกศาสนา อันมีมาแต่ก่อนพุทธกาลเสียอีก (ดู ติดปีติ,สุข ในฌาน)
๓. ญาณ ความรู้หรือปัญญา แต่ญาณในวิปัสสนูปกิเลส หรือเป็นมิจฉาญาณนั่นเอง เป็นเพียงความรู้สึกว่าตนเองมีภูมิรู้ภูมิธรรมหรือความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆหรือธรรต่างๆดีแล้ว ถูกต้องถ่องแท้แล้ว หรือเกิดแต่นามนิมิต(ความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงขึ้นในใจ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ มิได้เกิดแต่ปัญญาหรือเป็นไปตามหลักเหตุผล) เสียงนิมิต(เสียงที่ผุดขึ้นได้ยินแต่นักปฏิบัติ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ) แต่เกิดแต่ความเข้าไม่ถูกต้องหรือมิจฉาญาณ แล้วน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์ ดังนั้นเมื่อคิดว่ามีความรู้ความเจ้าใจจากมิจฉาญาณดังกล่าว จึงทำให้เข้าใจผิด หรือหยุดการพิจารณาด้วยปัญญาเสียกลางคัน ก่อนที่จะไปถึงจุดหมายด้วยคิดว่าเข้าใจดีถูกต้องแล้ว หรือคิว่าได้มรรคผลใดแล้ว จึงทําให้เกิดทิฏฐิ ไม่รับฟังความคิดความเห็นจากผู้รู้หรือผู้อื่นที่แนะนําข้อผิดพลาดได้ เพราะหลงคิดและเข้าใจไปว่าตนเองเข้าใจถูกต้องแล้วอย่างแรงกล้าด้วยอธิโมกข์, เมื่อผู้ใดพูดก็โกรธหรือไม่รับฟังไปพิจารณา ทําให้การเจริญวิปัสสนาในธรรมต้องสะดุดหยุดชงักไปโดยไม่รู้ตัว และเพราะญาณความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้อง อันยิ่งทำให้การปฏิบัติผิดไปจากแนวทางและจุดมุ่งหมายอันคือนิโรธ อันมักเกิดขึ้นเป็นประจําในการปฏิบัติ, หรือไปยึดติดแต่ปัญญาความรู้ความเข้าใจ(ญาณ)ที่เกิดขึ้นจนขาดการปฏิบัติ, หรือเมื่อญาณความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้องและไปยึดปฏิบัติตามเข้าจึงเกิดการออกนอกลู่นอกทางเป็นโทษโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา
๔. ปัสสัทธิ มีความรู้สึกสงบกาย สงบใจ ไม่ทุกข์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย ทําให้หยุดการพัฒนาเพราะคิดว่า สงบกาย สงบใจดีแล้ว พอใจแล้ว พอพ้นทุกข์แล้ว หรือมีปัญญาแค่นี้ ทําให้ตัดทอนโอกาสอันดีงามในการก้าวต่อไปข้างหน้า เกิดการหยุดชงักงัน ไม่ภาวนาให้เจริญต่อไป และเกิดการติดเพลินจมแช่อยู่ในความสงบ ซึ่งในบางครั้งเกิดจากการจดจ้อง จดจ่อ หรือหมกมุ่นความสงบในกายในจิตของตนเอง จนไม่สังเกตุรู้สภาวะรอบข้างใดๆอย่างขาดสติเท่าที่ควร ตลอดจนทำให้ธาตุขันธ์แปรปรวน เป็นผลของฌานสมาธิอันไม่เที่ยง ซึ่งมีการแปรปรวนเป็นธรรมดา เกิดการครอบงําโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา
๕. สุข มีความรู้สึกเป็นสุข ความสบาย ทั้งทางใจและทางกาย สบายกาย สบายใจล้วนแต่เป็นผลจากสมถะ อันยังให้เกิดสารคัดหลั่ง จึงทำเกิดการติดเพลิน(นันทิ-ตัณหา)ไปยึดในความพึงพอใจในผลของสุข สงบ อันเกิดแต่ฌานและสมาธินี้ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวเพราะความไม่รู้ จึงทําให้ก่อเกิดโทษต่างๆตามมา อันเป็นผลเสียทั้งต่อกายและต่อจิตอย่างรุนแรง ทําให้การปฏิบัติธรรมต้องหยุดชงักงัน เพราะหลงติดด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ (ติดปิติ,สุข,อุเบกขา ในฌาน)
๖. อธิโมกข์ ศรัทธาหรือน้อมใจเชื่อแต่เป็นไปอย่างขาดปัญญา กล่าวคือขาดเหตุผลหรือที่มาที่ไปนั่นเอง เนื่องจากประสบผลสําเร็จบางส่วนในการปฏิบัติ ทำให้เกิดผลบางสิ่งขึ้น จึงทําให้เกิดซาบซึ้ง เลื่อมใส ศรัทธาอย่างแรงกล้า จิตสว่างเจิดจ้าหมดความเศร้าหมอง จึงเกิดการหมายยึดเป็นที่พึ่งทางใจโดยไม่รู้ตัวแต่เป็นไปแบบงมงาย กล่าวคืออย่างขาดเหตุผล ดังเช่น หมายยึดอย่างผิดๆใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และครูบาอาจารย์ เจ้าลัทธิ ตลอดจนน้อมเชื่อในนิมิตต่างๆ อย่างแรงกล้า แต่เป็นไปอย่างผิดๆคืออย่างงมงายขาดปัญญา เกิดแต่ความเชื่อมิได้เกิดแต่ความเข้าใจ เช่น อยากสร้างโบสถ์วิหารใหญ่เกินตัวเพื่อทดแทนพระคุณ อยากสอน, อยากให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติบ้างเหมือนตน อยากทําบุญทําทานต่างๆเกินฐานะ ทําบุญสะเดาะเคราะห์กรรมต่างๆ น้อมเชื่อในนิมิตที่เห็นอย่างแน่นแฟ้น น้อมเชื่อปฏิบัติตามคำสอนแต่อย่างงมงายคือน้อมเชื่อโดยขาดการพิจารณาและความเข้าใจ เช่นน้อมเชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ อย่างขาดปัญญา คือเชื่ออย่างเดียวว่าถูกโดยขาดการพิจารณาด้วยปัญญา ซึ่งล้วนแต่เป็นไปในลักษณะของทั้งทิฏฐุปาทานและสีลัพพตุปาทานคืออุปาทานชนิดยึดมั่นพึงพอใจในความคิดความเชื่อของตน แบบผิดๆหรืออย่างงมงาย ขาดปัญญาในการไตร่ตรองว่าถูกหรือผิด, ศรัทธาที่ถูกนั้นเป็นสิ่งจําเป็นในการปฏิบัติ แต่ต้องไม่เป็นไปอย่างงมงาย ประกอบด้วยเหตุผล จึงดําเนินไปด้วยปัญญา(สัมมาปัญญา)จึงจักถูกต้อง ไม่ใช่ด้วยอธิโมกข์
๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี แต่ในวิปัสสนูปกิเลสหมายถึง เพียรมากจนเกินพอดี เกินเหตุชนิดมุทะลุ จึงย่อมตึงเครียดต่อการปฏิบัติมักเนื่องจากปฏิบัติผิดวิธี หรือติดตรึงใจในผลความสุขความสงบความสบาย หรือมีความเข้าใจแล้วต้องการให้บรรลุหรือสมประสงค์โดยไวด้วยความเพียร แต่ลืมทางสายกลาง ทําให้เกินพอดี ทําให้เกิดอาการเครียดต่างๆทั้งต่อจิต และกาย และมักเกิดจากผลที่ดีที่บังเกิดขึ้นในระยะแรกๆจากการปฏิบัติสมถสมาธิอันเกิดแต่อำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ จึงเป็นแรงขับดันให้เพียรปฏิบัติอย่างมุทะลุลืมตัว โดยไม่รู้ตัว
๘. อุปัฏฐานะ สติชัด แต่ที่นี้หมายถึง สติแก่กล้าเกินพอดี สติมากเกินพอดีไปในการปฏิบัติ เช่น จดจ้อง จดจ่อ อย่างต่อเนื่อง อย่างแรงกล้าแต่เฉพาะในสิ่งที่ยึดเป็นอารมณ์ หรือเฉพาะการปฏิบัติที่ปฏิบัติอยู่แต่เท่านั้น กล่าวคือ สติจดจ่อแช่นิ่งในอารมณ์เดียว แต่ไม่มีสติหรือขาดสติในสิ่งอื่นๆอันควรแก่การใช้งาน กล่าวคือ ขาดสัมปชัญญะความมีสติต่อเนื่องสัมพันธ์ในสิ่งอื่น เพ่งจดจ่อแต่สิ่งที่ปฏิบัติแต่เกินพอดี ทําให้สติล้าตึงเครียด จนเกิดอาการต่างๆเพราะความตึงเครียดจากการปฏิบัติผิดมากเกินไป ขาดสติในสิ่งที่ไม่ได้กำหนด จนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี หรือไม่รู้ในสิ่งที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร กล่าวโดยย่อก็คือเป็นมิจฉาสติ, สตินั้นก็เป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง จึงมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา มีการเกิดดับๆๆเป็นธรรมดา จึงเป็นไปในลักษณะรู้เท่าทันแล้วเกิดขึ้นจนชำนาญอย่างยิ่ง กล่าวคือสติเกิดขึ้นเองเมื่อผัสสะกับอารมณ์ต่างๆได้เองเหมือนไม่ได้ตั้งใจหรือมหาสตินั่นเอง การตั้งจิตอยู่กับสติตลอดเวลาอย่างจดจ้องจดจ่อจึงทำให้เกิดอาการล้า และสติชัดเกินไป จนไม่รับรู้ในสิ่งอันควรอื่นๆนั่นเอง
๙. อุเบกขา ความสงบ การวางเฉย แต่อย่างผิดๆ รู้สึกสงบ ไม่ทุกข์ไม่ร้อน จึงไปเข้าใจผิดว่าดีแล้ว ถูกต้องแล้ว แต่เป็นไปในลักษณะสงบนิ่งอยู่ภายในจิต อย่างติดเพลิน เฉื่อยชา ใจลอย ไม่ยินดียินร้าย ไม่นิ่มนวลควรแก่การใช้งาน ขาดความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เวลาจิตหวั่นไหวหลุดจากองค์ฌานก็จะโกรธได้ง่ายๆ, แล้วไปเข้าใจผิดว่าเป็นอุเบกขาในโพชฌงค์ ที่หมายถึงการวางเฉยหรือใจเป็นกลางที่ถูกต้อง คือรู้เห็นตามความเป็นจริงในคุณโทษของสภาวะธรรมนั้นๆ แล้ววางใจเป็นกลางอุเบกขา วางทีเฉยดูโดยการไม่เอนเอียงไม่แทรกแซงไปปรุงแต่งทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย,ดีหรือชั่วเช่น เราดี หรือเขาชั่ว, เราถูก หรือเขาผิด, แต่กลับกลายเป็นอุเบกขาที่เกิดจากการปล่อยแช่เลื่อนไหลอยู่ในความสงบของมิจฉาสมาธิหรือฌานแบบผิดๆทั้งในสภาพที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว หรือเกิดจากการปฏิบัติชนิดกดข่มไว้ มิได้เกิดแต่ปัญญาที่เข้าใจ ล้วนแต่เป็นผลของการปฏิบัติสมถะสมาธิและวิปัสสนาผิดวิธีอย่างแน่นอน
๑๐. นิกันติ ความพอใจ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติต่างๆของตนที่ผ่านมา พอใจในผลขององค์ฌานหรือสมาธิ เช่น ปีติ สุข อุเบกขา อันยังให้เกิดความสุข ความเบาสบาย, หรือโอภาส-ความสว่าง แสงสีต่างๆ หรือรูปนิมิต, หรือมิจฉาญาณที่เข้าใจผิดไปว่าได้บุญได้กุศล ตลอดจนพอใจในนิมิตหรือปาฏิหาริย์ต่างๆที่เกิดขึ้น หรือคิดขึ้นภายใต้อํานาจของสมถะที่ปฏิบัติและสารคัดหลั่งบางตัวที่มากเกินขนาดจากการปฏิบัติไปติดจมแช่อยู่เป็นระยะเวลานานๆ จะโดยรู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี จึงทําให้เกิดผลร้ายต่อการปฏิบัติอย่างรุนแรง ทั้งต่อกายอันจะเกิดการเจ็บป่วยต่างๆนาๆและต่อจิต, จึงก่อให้เกิดความพยายามปฏิบัติในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้คงอยู่ ทำให้เป็นขึ้น อยู่ตลอดเวลา
นักปฏิบัติใหม่ ที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติจึงควรมีความเข้าใจในฌานสมาธิอย่างถูกต้อง ต้องรู้ว่าเมื่อปฏิบัติไปถูกต้องทางฌานสมาธิแล้ว จักมีอาการหรือผลขององค์ฌาน หรือผลของสมาธิเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จึงต้องมีความเข้าใจอย่างแน่วแน่ว่านั่น เป็นอาการของจิตตามธรรมชาติธรรมดาๆ อันต้องเป็นเช่นนั้นเองเมื่อจิตมีอาการรวมตั้งมั่นขึ้น จึงอย่าได้ไปหลงใน แสง สี เสียง โดยเฉพาะภาพนิมิต เสียงนิมิต นามนิมิต ไม่ว่าจะเป็นนิมิต รูปของพระพุทธเจ้า อรหันต์ เทวดา สวรรค์ วิมานต่างๆ ตลอดจนความรู้สึกใดๆ, สมาธิหรือฌานเป็นเพียงทางผ่าน หรือแค่ขั้นบันได(บาทฐาน)เป็นเครื่องสนับสนุนเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าในวิปัสสนาญาณเท่านั้น คือใช้กําลังของจิตและความสงบไม่ซัดส่ายที่เกิดขึ้นนั้น อันย่อมมีกำลังมากกว่าปกติธรรมดา ไปพิจารณาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญาญาณ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมอย่างถูกต้องถึงแก่นถึงแกน
วิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันต้องมีสมาธิหรือฌานเป็นบาทฐานนั่นเอง แต่สมาธิหรือฌานนั้นเป็นมิจฉาสมาธิเสีย จึงเกิดการติดขัดไม่สามารถก้าวหน้าต่อไปได้ จนเกิดผลเสียร้ายแรงได้ ก็เพราะอุปกิเลสทั้ง ๑๐ แห่งวิปัสสนาเหล่านี้ นั่นเอง กล่าวคือ มิได้เกิดขึ้นเพราะธรรม จริงๆแล้วสามารถกล่าวได้ว่า สิ่งที่เป็นเหตุคือเกิดขึ้นจากการปฏิบัติเบี่ยงเบนผิดแนวทางด้วยอวิชชาไปในแนวทางมิจฉาสมาธินั่นเอง จึงส่งผลให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้น
ผลของอุปกิเลสนี้อาจเป็นข้อใดข้อหนึ่งรุนแรง แต่มักเกิดหลายๆข้อ และบางข้อเมื่อเป็นแล้วก็ส่งผลให้เกิดอุปกิเลสในข้ออื่นๆด้วย อย่างผู้เขียนเองเคยเกิดเคยเป็นครบทุกข้อ แทบเอาตัวไม่รอด จึงควรหมั่นตรวจสอบตนเองเป็นครั้งคราว โดยต้องเห็นตามความเป็นจริง ยอมรับตามความเป็นจริง เพราะโดยปกตินั้นมายาจิตของตัวตนทำให้หลง โดยการโกหกหรือหลอกลวงแมเตัวตนเอง จึงไม่ยอมรับหรือไม่เห็นเป็นไปตามความเป็นจริง โดยเฉพาะถ้าเกี่ยวกับตัวตนเอง(ทิฏฐุปาทาน) โดยการเลี่ยงไปไม่คิดให้เห็นตามความเป็นจริงบ้าง เพราะปัญญายังไม่แก่กล้าพอบ้าง หมั่นสังเกตุว่ามีวิปัสสนูปกิเลสใดเกิดขึ้น และเพียรพยายามแก้ไขเสียแต่ต้นๆมือ หรือปรึกษาผู้รู้ ก่อนที่จะสายเกินแก้หรือติดปลักอยู่กับสิ่งไร้สาระที่ให้โทษนี้ เป็นเวลานานๆ อันทําใจให้เศร้าหมองในที่สุด และทําให้รับคุณธรรมได้ยาก ตลอดจนส่งผลร้ายอย่างรุนแรงต่อกายและจิตของผู้ปฏิบัติเอง ตลอดจนบุคคลรอบข้างอันเป็นที่รัก
ผู้เขียนขอเน้นวิปัสสนูปกิเลสนี้ ในหัวข้อทั้ง ๑๐ ชื่อเหมือนกันกับหลักธรรมอันสําคัญยิ่ง อันฟังดูน่าปฏิบัติ แต่หมายถึงเป็นไปอย่างผิดๆ ผู้เขียนมีความรู้จากการอ่านในเรื่องนี้มาเกือบปีก่อนเข้าใจในธรรมบ้าง และครั้งนั้นก็ได้พิจารณาตนเองในอุปกิเลส ๑๐ นี้ แต่กลับมองไม่เห็น คือคิดว่าน้อยมากจนไม่ต้องใส่ใจ เพราะไม่ได้วางใจเป็นกลางด้วยอำนาจของทิฏฐุปาทานอันต้องมีในปุถุชน กาลต่อมาเมื่อเข้าใจในธรรมดีขึ้น แล้วมองย้อนระลึกขันธ์หรือชาติภพที่เคยเกิดเคยเป็น จึงรู้ตัวว่าผู้เขียนหลงจมปลักอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสอย่างงมงายหรืออวิชชานั่นเอง
ต้องการชี้ให้เห็นว่า แม้รู้จักวิปัสสนูปกิเลสดีแล้ว ยังต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและที่สําคัญที่สุดคือใจเป็นกลาง วางความเชื่อความยึดลงสักชั่วขณะ พิจารณาตามความเป็นจริง อย่าให้เป็นไปตามแต่ความเชื่อความคิดของตนเองแต่ฝ่ายเดียว คือ ไม่ถูกครอบงําโดย "ทิฏฐุปาทาน" ในความเชื่อ, ความเข้าใจ หรือทฤษฎีของตน, แล้วพิจารณาเพื่อจักได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติ อันส่งผลร้ายแก่นักปฏิบัติเอง ดังที่เกิดมาแล้วกับผู้เขียน
ข้อสำคัญ วิปัสสนูปกิเลสนี้เกิดขึ้นตลอดสายของการปฏิบัติ !
ถึงแม้ว่าปฎิบัติวิปัสสนาอย่างถูกต้อง วิปัสสนูปกิเลสนี้ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ แต่เบาบางและเป็นไปในลักษณะลดน้อยถอยลงไปทุกขณะตามภูมิรู้ภูมิญาณที่เกิดขึ้น จึงควรมีความระมัดระวังเสียแต่แรกๆด้วย, แต่เมื่อใดที่การปฏิบัตินั้นเป็นไปอย่างผิดๆหรือเป็นมิจฉาสมาธิ เมื่อนั้นวิปัสสนูปกิเลสจะรุนแรงและเฟื่องฟูขึ้นตลอดเวลาในลักษณะเพิ่มพูนสะสมจนเป็นอันตรายต่อตนเองอย่างรุนแรงโดยไม่รู้ตัว เพราะการถูกครอบงำของจิต
มีพระอรรถกถาจารย์ ได้กล่าวไว้ว่า "วิปัสสนูปกิเลสนี้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อเริ่มเกิด อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หรือญาณที่ ๔ใหม่ๆ อันเป็นญาณเกี่ยวกับการเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ ๕ หรือสังขารในปัจจุบันจิตหรือปัจจุบันธรรม ในขณะที่เริ่มเกิดขึ้นใหม่ๆนี้ เรียกย่อยลงไปว่า ดรุณวิปัสสนา(วิปัสสนาญาณอ่อนๆ) ถ้ารู้เท่าทันผ่านพ้นไปได้ ไม่ไปติดไปยึดในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเช่นโอภาส สุข ปีติ ฯลฯ. อันแสนเย้ายวน ชวนให้หลงผิดและติดใจอยู่ในวังวนของความพิศดาร ก็ถือว่าพ้นวิกฤติของวิปัสสนูปกิเลสไปได้"
ข้อสังเกตุง่ายๆอีกประการหนึ่งคือ ถ้าปฏิบัติแล้วเกิดอาการกระหยิ่มยิ้มย่องว่า ข้ารู้แล้ว ข้าเข้าใจแล้ว ข้าดีแล้ว มีมานะและทิฏฐิ จิตเก่ง จิตกล้า คิดเข้าใจว่าได้มรรคได้ผลทั้งๆที่ไม่ได้วิปัสสนาจนเกิดความเข้าใจเกิดนิพพิทา หรือไปยึดหมายใดๆ ตลอดจนการฝักใฝ่หรือสนใจในอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ นั่นล้วนเป็นอาการของวิปัสสนูปกิเลสล้วนสิ้น เพราะการปฏิบัติที่ถูกต้องนั้นต้องเกิดนิพพิทา คือเกิดความหน่ายคลายกำหนัด คลายความชื่นชมความยินดี เนื่องจากไปรู้ตามความเป็นจริงของธรรม จึงคลายความยึดความอยากหรือตัณหาในสังขารอันหมายถึงสิ่งต่างๆเหล่านั้น จึงไม่ใช่อาการของเหล่าผู้มีจิตเก่ง จิตกล้า มีมานะทิฏฐิสูง
___________
ผู้เขียนขอกราบอารธนาคําสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ในเรื่องโทษของอุปกิเลส๑๐ จากหนังสือโมกขุบายวิธี
โทษของอุปกิเลส๑๐
ลักษณะอาการและการละกิเลส เป็นต้น ของฌานและสมาธิ ผิดกันดังแสดงมา ฌานมีความน้อมเชื่อมาก วิริยะและปีติแรง กำลังใจกล้า โลดโผนทุกๆ อย่าง สรุปแล้ว เมื่อจิตน้อมไปตามอารมณ์ของฌาน ถ้าผู้ติดฌาน หลงฌานอย่างหนักหน่วงแล้ว จิตของตนแทบจะไม่เป็นตัวของตัวเองเสียเลยก็ว่าได้ ที่จริงฌานเมื่อเกิดขึ้นเป็นของน่าตื่นเต้น ผู้ฝึกหัดใหม่จึงชอบนัก แต่ฌานเป็นของได้ง่ายพลันหาย เพราะตกอยู่ใต้อำนาจของโลกธรรม๘ ส่วน(สัมมา)สมาธิเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นไปอย่างเรียบๆ เพราะมีสติรอบคอบตามภูมิของตน และยึดเอาไตรลักษณะเป็นอารมณ์ ไม่หลงลืมตัว ค่อยได้ค่อยเป็นไปละเอียดลงโดยลำดับ ได้แล้วไม่ค่อยเสื่อมเป็นโลกุตตรธรรม บางคนจะไม่รู้สึกตื่นเต้นในเมื่อตนได้สมาธิ เพราะไม่ได้คำนึงถึงอาการที่ตนได้มี แต่ตั้งหน้าจะทำสมาธินั้นให้มั่นและละเอียดถ่ายเดียว ฌานเป็นของน่าสนุกสนาน มีเครื่องเล่นมาก มีเรื่องแปลกๆ ทำให้ผู้ไม่รู้เท่าตามความเป็นจริงหลงติดจมอยู่ในฌาน อาการที่จิตหลงติดจมอยู่นั้นคือโทษ ของอุปกิเลส๑๐ พึงสังเกตต่อไป
โอภาส แสงสว่างย่อมปรากฏในมโนทวารวิถี ขณะเมื่อจิตเข้าถึงฌาน (ภวังค์) เมื่อจิตน้อมเชื่อไปตามแสงสว่าง และแสงสว่างนั้นก็ขยายวงกว้างออกไป มีอาการแปลกๆ ต่างๆ เหลือที่จะพรรณา
ญาณ ความรู้สิ่งต่างๆ บางทีจนกำหนดตามไม่ทัน ไม่ทราบว่ารู้อะไรบ้าง ทั้งสิ่งที่เคยรู้เคยเห็น ทั้งสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น มิใช่รู้อยู่กับสิ่งที่รู้ ยังสอดส่ายไปตามอาการตลอดถึงคนอื่น สัตว์อื่น ทีแรก จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง นานๆ เข้าก็เหลว
ปีติ ทำให้อิ่มใจจนลืมตัว
ปัสสัทธิ ทำให้สงบจากอารมณ์ภายนอก กลับเข้ามายุ่งอยู่กับอารมณ์ภายในจนไม่เป็นอันกินอันนอน เมื่อเป็นอย่างนี้นานเข้า ธาตุย่อมกำเริบ จิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ
สุข ทำให้สบายอยู่ด้วยอาการทั้งหลายดังกล่าวมา ถึงกับไม่ต้องรับประทานข้าวน้ำก็มี
อธิโมกข์ ทำให้เกิดจิตน้อมเชื่อไปในนิมิตและแสงสว่าง ความรู้มีมากเท่าไร อุปกิเลสทั้ง ๑๐ ก็ยิ่งมีกำลังรุนแรงทวีขึ้น
ปัคคาหะ ทำให้เพียรกล้าไม่หยุดหย่อนท้อถอย มีญาณความรู้คอยกระซิบตักเตือนให้ทำอยู่เสมอ
อุปัฏฐาน ช่วยให้สติแข็งแกร่งอยู่เฉพาะในอารมณ์นั้น แต่ขาดสัมปชัญญะ ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร
ถ้าอุปกิเลสทั้ง ๘ ตัวดังกล่าวมาหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งยังเกิดมีอยู่ อุเบกขา(ในวิปัสสนูปกิเลส)ก็จะไม่เกิด ถ้าทั้ง ๘ นั้นสงบลงแม้ชั่วขณะหนึ่ง อุเบกขา และ นิกันติ จึงจะเกิดขึ้น
อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจ มุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้วก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก เมื่อมีเรื่องวิปลาสเกิดขึ้นเช่นนั้น ผู้รู้เท่าและเคยผ่านมาแล้วจึงจะแก้ได้
วิธีแก้วิปลาส
อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมดก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้นสำหรับนิสัยของบางคน แต่บางคนก็ไม่มีเลย(หมายถึงปฏิบัติมาอย่างถูกต้อง-ผู้เขียน) ถ้ามันเกิดขึ้นเราควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงทำความรู้เท่าว่า นี่เป็นอุปกิเลสเป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาปัญญา และอุปกิเลสนี้เกิดจากฌานหาใช่อริยมรรคไม่ ถึงแม้วิปัสสนาญาณ ๙ แปดข้อเบื้องต้นก็เช่นเดียวกัน อย่าได้น้อมจิตส่งไปตามด้วยเข้าใจว่าเป็นของจริงของแท้ พึงเข้าใจว่านั่นเป็นแต่เพียงภาพอันเกิดจากมโนสังขาร คือจิตปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจของฌานเท่านั้น พึงหยิบยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสินว่า อุปกิเลสทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะฌาน ฌานก็เป็นโลกิยะ อุปกิเลสก็เป็นโลกิยะ โลกิยะทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรนั้นแหละเป็นทุกข์ เพราะทนต่อความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้ แล้วก็แตกสลายดับไปตามสภาพของมันเอง ซึ่งไม่มีใครจะมีอำนาจห้ามปรามไม่ให้มันเป็นเช่นนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า อนัตตา เมื่อยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสิน ถ้าจิตเกิดปัญญาน้อมลงเห็นตามพระไตรลักษณะแล้ว จิตก็จะถอนออกจากอุปาทานที่เข้าไปยึดอุปกิเลสนั้น แล้วจะเกิดปัญญาญาณเดินตามทางอริยมรรคได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าแก้อย่างนั้นด้วยตนเองไม่ได้ผล คนอื่นช่วยแก้ก็ไม่สำเร็จ เพราะผู้เป็นหลงเข้าไปยึดมั่นสำคัญเอาเป็นจริงเป็นจังเสียแล้ว บางทีจนทำให้ซึมเซ่อมึนงงไปหมดก็ดี จึงควรใช้วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย
๒. เมื่อรู้เท่าทันและเห็นโทษอย่างนั้นแล้ว จงคอยระวังจิตอย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุขเอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้ และอย่ายึดเอาอารมณ์ใดๆ อันเป็นความสุขภายในของใจ แล้วจงเปลี่ยนอิริยาบถ ๔ ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้จิตรวม แต่ให้มีการงานทำเพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นแล้ว จิตเข้าไปยึดถือจนแน่นแฟ้นจนสำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่างๆ นานา มีทิฐิถือรั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ ทั้งหมด เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะแก้ตัวเองได้ ถึงแม้อาจารย์หากไม่ชำนาญรู้จักปมด้อยของศิษย์ หรือไม่เคยผ่านเช่นนั้นมาก่อนแล้ว ก็ยากที่จะแก้เขาได้ ฉะนั้น จึงควรใช้ ...
วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย คือใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัวหรือให้เกิดความโกรธอย่างสุดขีดเอาจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี แต่ให้ระวังอย่าให้หนีได้ ถ้าหนีไปแล้วจะไม่มีหนทางแก้ไขเลย เมื่อหายจากวิปลาสแล้วจึงทำความเข้าใจกันใหม่ วิธีสุดท้ายนี้ โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตได้ผลดีเลิศ
ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส ฉะนั้น วิธีแก้จึงไม่ค่อยผิดแผกกันนัก............
.........ผู้ปฏิบัติพึงระลึกเสมอว่า ภพกายหลงง่ายละยาก ภพจิตหลงยากละยาก นิมิตและญาณที่เกิดแต่ฌานก็หลงง่ายละยาก แต่ที่เกิดแต่สมาธิหลงยากละง่าย เพราะเกิดแต่สมาธิเป็นอุบายของปัญญาเพื่อให้ละถอนอุปธิเข้าถึงสารธรรมโดยตรง.
---------------
ข้อคิด
"ทุกข์ของขันธ์๕ทางกายและใจ นั้นเป็นสภาวะธรรมยังคงมีอยู่ แต่ไม่มี "อุปาทานทุกข์"
จริงๆแล้วที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นทุกข์กันอยู่ทุกขณะก็คือ "อุปาทานทุกข์ "นี้นั่นเอง
แต่ไม่รู้จึงจําแนกไม่ออก
พนมพร
ไปอ่านติดสุขในฌานและวิธีแก้ไข
แนะนํา
วิธีเจริญจิตภาวนา
ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
คลิกที่นี่เพื่อบันทึกหน้าวิธีเจริญจิตภาวนา ไว้ใน แฟ้มFavorites
หรือ ในหนังสือ อตุโล ไม่มีใดเทียม (หน้า๔๑๕)
ผู้เขียน-อันเป็นแนวทางเจริญสติและสัมมาสมาธิ ให้เห็นความคิดนึกปรุงแต่งอย่างถูกต้อง
"เจ้าวิปัสสนูปกิเลสนี้ มีอิทธิและอํานาจ จะทําให้เกิดความน้อมใจเชื่อ(webmaster - อธิโมกข์)อย่างรุนแรงโดยไม่รู้เท่าทันว่าเป็นการสําคัญผิด ซึ่งเป็นการสําคัญผิดอย่างสนิทสนมแนบเนียน และเกิดความภูมิใจในตนเองอยู่เงียบๆ บางคนถึงสําคัญตนว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วยซํ้า บางรายสําคัญผิดอย่างมีจิตกําเริบยโสโอหัง หรือถึงขนาดที่เรียกกันว่าเป็นบ้าวิกลจริตก็มี " ( อตุโล ไม่มีใดเทียม หน้า๑๑๙ )
"อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจมุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้ว ก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก........" (จากโมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทส เทสก์รังสี)
"อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมด ก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้น..........." (จากโมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทส เทสก์รังสี)
วิปัสสนูปกิเลส
//---- Choice of variables ----
glow_color="blue"
glow_min=2
glow_max=5
glow_speed=300
function f_glow(){glow_size+=glow_const
if (glow_size>glow_max glow_size
วิปัสสนูปกิเลส หรือ อุปกิเลส ๑๐ นี้ ดูจากหัวข้อทั้ง ๑๐ แล้ว ดูอย่างไม่พิจารณา ดูแต่ตามสภาพ ดูชื่อ ดูแล้วน่าชื่นชมน่ายินดี ชื่อเหมือนข้อธรรมสําคัญๆทางพระพุทธศาสนา แต่กลับหมายถึงการปฏิบัติแบบผิดๆที่เป็นโทษ ตรงข้ามกับข้อธรรมนั้นๆ เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งการปฏิบัติสมถวิปัสสนา ซึ่งเกิดแก่ผู้ได้สมถวิปัสสนาอ่อนๆ แล้วเกิดความหลงผิด,เข้าใจผิดคิดว่า ตนประสพความสําเร็จ หรือบรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว อันมักเกิดขึ้นจากผลของการปฏิบัติสมถสมาธิหรือฌานอย่างผิดๆเป็นเหตุปัจจัย คือเน้นปฏิบัติแต่สมาธิแต่ขาดการวิปัสสนาให้เกิดปัญญา จึงพาให้เกิดการทะนงตน(มานะ)และหลงผิด หลงยึดด้วยทิฏฐุปาทานหรือสีลัพพตุปาทานโดยไม่รู้ตัว และบังเกิดผลร้ายบางประการ ทั้งต่อกายและจิตและบุคคลรอบข้างอย่างรุนแรง และทำให้ไม่สามารถดําเนินก้าวหน้าต่อไปใน "วิปัสสนาญาณ" อันถูกต้องดีงามได้
อุปกิเลส๑๐แห่งวิปัสสนา อันมี ๑๐ มีดั่งนี้
๑. โอภาส หรือแสง เช่น นิมิต เห็นแสงสว่างต่างๆ เห็นแสงสว่างรอบๆสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น พระพุทธรูปที่เป็นกสิณ หรือเห็นเจิดจ้าสว่างไสวไปทั่ว หรือแสงออกจากร่างกายตน, รูปนิมิตต่างๆ แล้วไปน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์อย่างเป็นจริงเป็นจัง สิ่งเหล่านี้ความจริงแล้วต้องเกิดขึ้นอันเป็นปกติตามธรรมชาติของจิตเมื่อเป็นฌานสมาธิ เกิดจากภวังค์ ยิ่งโดยเฉพาะในระยะแรกๆ แต่ทําให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดไปน้อมเชื่อ น้อมคิดปรุงแต่งไปว่า เป็น บุญ อิทธิปาฏิหาริย์ อันตื่นตา ตื่นใจ ไม่เคยประสบมาก่อน เลยไปยึดมั่นหมายมั่นพึงพอใจหรือน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริงในโอภาสหรือนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นด้วยอวิชชา จึงทําให้ติดเพลิน(นันทิ-อันคือตัณหา)อยู่ในวังวนของความตื่นตาตื่นใจ เมื่อเกิดนันทิอันคือตัณหา ย่อมเกิดอุปาทาน ภพ(รูปภพ) ชาติ คือการเกิดขึ้นของกองทุกข์ตามมาโดยไม่รู้ตัว และเกิดความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆไปทางฤทธิ์ ทางเดช ทางบุญ ทางกุศลโดยไม่รู้ตัว
๒. ปิติ ความอิ่มเอิบ ซาบซ่าน อันเกิดขึ้นทั้งต่อกายและใจอันได้จากการปฏิบัติสมถะหรือสมาธิ ปีติมีอยู่ ๕ แบบซึ่งก่อให้เกิดความอัศจรรย์ ความสุข ความสบาย ความพิศวง พึงพอใจ หรือลุ่มหลง แปลกใจ ทําให้หลงใหลอยู่ในเวทนาและสังขารขันธ์นี้ว่าเป็นของดีของวิเศษ โดยลืมตัวเพราะอวิชชาความไม่รู้ว่าเป็นธรรมชาติธรรมดาๆ อันพึงเกิดแก่ผู้ปฏิบัติถูกต้องทั่วๆไปเป็นธรรมดา จึงเกิดการติดเพลิน ไปยึดไปอยากด้วยอธิโมกข์, จริงๆแล้วองค์ฌานต่างๆอันมี วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข อุเบกขา(เอกคตารมณ์)ล้วนเป็นเพียงแค่ทางผ่านของฌานสมาธิ อันบังเกิดแก่ทุกผู้นาม ทุกเผ่าพันธ์ ทุกชาติ ทุกศาสนา อันมีมาแต่ก่อนพุทธกาลเสียอีก (ดู ติดปีติ,สุข ในฌาน)
๓. ญาณ ความรู้หรือปัญญา แต่ญาณในวิปัสสนูปกิเลส หรือเป็นมิจฉาญาณนั่นเอง เป็นเพียงความรู้สึกว่าตนเองมีภูมิรู้ภูมิธรรมหรือความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆหรือธรรต่างๆดีแล้ว ถูกต้องถ่องแท้แล้ว หรือเกิดแต่นามนิมิต(ความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงขึ้นในใจ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ มิได้เกิดแต่ปัญญาหรือเป็นไปตามหลักเหตุผล) เสียงนิมิต(เสียงที่ผุดขึ้นได้ยินแต่นักปฏิบัติ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ) แต่เกิดแต่ความเข้าไม่ถูกต้องหรือมิจฉาญาณ แล้วน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์ ดังนั้นเมื่อคิดว่ามีความรู้ความเจ้าใจจากมิจฉาญาณดังกล่าว จึงทำให้เข้าใจผิด หรือหยุดการพิจารณาด้วยปัญญาเสียกลางคัน ก่อนที่จะไปถึงจุดหมายด้วยคิดว่าเข้าใจดีถูกต้องแล้ว หรือคิว่าได้มรรคผลใดแล้ว จึงทําให้เกิดทิฏฐิ ไม่รับฟังความคิดความเห็นจากผู้รู้หรือผู้อื่นที่แนะนําข้อผิดพลาดได้ เพราะหลงคิดและเข้าใจไปว่าตนเองเข้าใจถูกต้องแล้วอย่างแรงกล้าด้วยอธิโมกข์, เมื่อผู้ใดพูดก็โกรธหรือไม่รับฟังไปพิจารณา ทําให้การเจริญวิปัสสนาในธรรมต้องสะดุดหยุดชงักไปโดยไม่รู้ตัว และเพราะญาณความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้อง อันยิ่งทำให้การปฏิบัติผิดไปจากแนวทางและจุดมุ่งหมายอันคือนิโรธ อันมักเกิดขึ้นเป็นประจําในการปฏิบัติ, หรือไปยึดติดแต่ปัญญาความรู้ความเข้าใจ(ญาณ)ที่เกิดขึ้นจนขาดการปฏิบัติ, หรือเมื่อญาณความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้องและไปยึดปฏิบัติตามเข้าจึงเกิดการออกนอกลู่นอกทางเป็นโทษโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา
๔. ปัสสัทธิ มีความรู้สึกสงบกาย สงบใจ ไม่ทุกข์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย ทําให้หยุดการพัฒนาเพราะคิดว่า สงบกาย สงบใจดีแล้ว พอใจแล้ว พอพ้นทุกข์แล้ว หรือมีปัญญาแค่นี้ ทําให้ตัดทอนโอกาสอันดีงามในการก้าวต่อไปข้างหน้า เกิดการหยุดชงักงัน ไม่ภาวนาให้เจริญต่อไป และเกิดการติดเพลินจมแช่อยู่ในความสงบ ซึ่งในบางครั้งเกิดจากการจดจ้อง จดจ่อ หรือหมกมุ่นความสงบในกายในจิตของตนเอง จนไม่สังเกตุรู้สภาวะรอบข้างใดๆอย่างขาดสติเท่าที่ควร ตลอดจนทำให้ธาตุขันธ์แปรปรวน เป็นผลของฌานสมาธิอันไม่เที่ยง ซึ่งมีการแปรปรวนเป็นธรรมดา เกิดการครอบงําโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา
๕. สุข มีความรู้สึกเป็นสุข ความสบาย ทั้งทางใจและทางกาย สบายกาย สบายใจล้วนแต่เป็นผลจากสมถะ อันยังให้เกิดสารคัดหลั่ง จึงทำเกิดการติดเพลิน(นันทิ-ตัณหา)ไปยึดในความพึงพอใจในผลของสุข สงบ อันเกิดแต่ฌานและสมาธินี้ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวเพราะความไม่รู้ จึงทําให้ก่อเกิดโทษต่างๆตามมา อันเป็นผลเสียทั้งต่อกายและต่อจิตอย่างรุนแรง ทําให้การปฏิบัติธรรมต้องหยุดชงักงัน เพราะหลงติดด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ (ติดปิติ,สุข,อุเบกขา ในฌาน)
๖. อธิโมกข์ ศรัทธาหรือน้อมใจเชื่อแต่เป็นไปอย่างขาดปัญญา กล่าวคือขาดเหตุผลหรือที่มาที่ไปนั่นเอง เนื่องจากประสบผลสําเร็จบางส่วนในการปฏิบัติ ทำให้เกิดผลบางสิ่งขึ้น จึงทําให้เกิดซาบซึ้ง เลื่อมใส ศรัทธาอย่างแรงกล้า จิตสว่างเจิดจ้าหมดความเศร้าหมอง จึงเกิดการหมายยึดเป็นที่พึ่งทางใจโดยไม่รู้ตัวแต่เป็นไปแบบงมงาย กล่าวคืออย่างขาดเหตุผล ดังเช่น หมายยึดอย่างผิดๆใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และครูบาอาจารย์ เจ้าลัทธิ ตลอดจนน้อมเชื่อในนิมิตต่างๆ อย่างแรงกล้า แต่เป็นไปอย่างผิดๆคืออย่างงมงายขาดปัญญา เกิดแต่ความเชื่อมิได้เกิดแต่ความเข้าใจ เช่น อยากสร้างโบสถ์วิหารใหญ่เกินตัวเพื่อทดแทนพระคุณ อยากสอน, อยากให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติบ้างเหมือนตน อยากทําบุญทําทานต่างๆเกินฐานะ ทําบุญสะเดาะเคราะห์กรรมต่างๆ น้อมเชื่อในนิมิตที่เห็นอย่างแน่นแฟ้น น้อมเชื่อปฏิบัติตามคำสอนแต่อย่างงมงายคือน้อมเชื่อโดยขาดการพิจารณาและความเข้าใจ เช่นน้อมเชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ อย่างขาดปัญญา คือเชื่ออย่างเดียวว่าถูกโดยขาดการพิจารณาด้วยปัญญา ซึ่งล้วนแต่เป็นไปในลักษณะของทั้งทิฏฐุปาทานและสีลัพพตุปาทานคืออุปาทานชนิดยึดมั่นพึงพอใจในความคิดความเชื่อของตน แบบผิดๆหรืออย่างงมงาย ขาดปัญญาในการไตร่ตรองว่าถูกหรือผิด, ศรัทธาที่ถูกนั้นเป็นสิ่งจําเป็นในการปฏิบัติ แต่ต้องไม่เป็นไปอย่างงมงาย ประกอบด้วยเหตุผล จึงดําเนินไปด้วยปัญญา(สัมมาปัญญา)จึงจักถูกต้อง ไม่ใช่ด้วยอธิโมกข์
๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี แต่ในวิปัสสนูปกิเลสหมายถึง เพียรมากจนเกินพอดี เกินเหตุชนิดมุทะลุ จึงย่อมตึงเครียดต่อการปฏิบัติมักเนื่องจากปฏิบัติผิดวิธี หรือติดตรึงใจในผลความสุขความสงบความสบาย หรือมีความเข้าใจแล้วต้องการให้บรรลุหรือสมประสงค์โดยไวด้วยความเพียร แต่ลืมทางสายกลาง ทําให้เกินพอดี ทําให้เกิดอาการเครียดต่างๆทั้งต่อจิต และกาย และมักเกิดจากผลที่ดีที่บังเกิดขึ้นในระยะแรกๆจากการปฏิบัติสมถสมาธิอันเกิดแต่อำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ จึงเป็นแรงขับดันให้เพียรปฏิบัติอย่างมุทะลุลืมตัว โดยไม่รู้ตัว
๘. อุปัฏฐานะ สติชัด แต่ที่นี้หมายถึง สติแก่กล้าเกินพอดี สติมากเกินพอดีไปในการปฏิบัติ เช่น จดจ้อง จดจ่อ อย่างต่อเนื่อง อย่างแรงกล้าแต่เฉพาะในสิ่งที่ยึดเป็นอารมณ์ หรือเฉพาะการปฏิบัติที่ปฏิบัติอยู่แต่เท่านั้น กล่าวคือ สติจดจ่อแช่นิ่งในอารมณ์เดียว แต่ไม่มีสติหรือขาดสติในสิ่งอื่นๆอันควรแก่การใช้งาน กล่าวคือ ขาดสัมปชัญญะความมีสติต่อเนื่องสัมพันธ์ในสิ่งอื่น เพ่งจดจ่อแต่สิ่งที่ปฏิบัติแต่เกินพอดี ทําให้สติล้าตึงเครียด จนเกิดอาการต่างๆเพราะความตึงเครียดจากการปฏิบัติผิดมากเกินไป ขาดสติในสิ่งที่ไม่ได้กำหนด จนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี หรือไม่รู้ในสิ่งที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร กล่าวโดยย่อก็คือเป็นมิจฉาสติ, สตินั้นก็เป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง จึงมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา มีการเกิดดับๆๆเป็นธรรมดา จึงเป็นไปในลักษณะรู้เท่าทันแล้วเกิดขึ้นจนชำนาญอย่างยิ่ง กล่าวคือสติเกิดขึ้นเองเมื่อผัสสะกับอารมณ์ต่างๆได้เองเหมือนไม่ได้ตั้งใจหรือมหาสตินั่นเอง การตั้งจิตอยู่กับสติตลอดเวลาอย่างจดจ้องจดจ่อจึงทำให้เกิดอาการล้า และสติชัดเกินไป จนไม่รับรู้ในสิ่งอันควรอื่นๆนั่นเอง
๙. อุเบกขา ความสงบ การวางเฉย แต่อย่างผิดๆ รู้สึกสงบ ไม่ทุกข์ไม่ร้อน จึงไปเข้าใจผิดว่าดีแล้ว ถูกต้องแล้ว แต่เป็นไปในลักษณะสงบนิ่งอยู่ภายในจิต อย่างติดเพลิน เฉื่อยชา ใจลอย ไม่ยินดียินร้าย ไม่นิ่มนวลควรแก่การใช้งาน ขาดความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เวลาจิตหวั่นไหวหลุดจากองค์ฌานก็จะโกรธได้ง่ายๆ, แล้วไปเข้าใจผิดว่าเป็นอุเบกขาในโพชฌงค์ ที่หมายถึงการวางเฉยหรือใจเป็นกลางที่ถูกต้อง คือรู้เห็นตามความเป็นจริงในคุณโทษของสภาวะธรรมนั้นๆ แล้ววางใจเป็นกลางอุเบกขา วางทีเฉยดูโดยการไม่เอนเอียงไม่แทรกแซงไปปรุงแต่งทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย,ดีหรือชั่วเช่น เราดี หรือเขาชั่ว, เราถูก หรือเขาผิด, แต่กลับกลายเป็นอุเบกขาที่เกิดจากการปล่อยแช่เลื่อนไหลอยู่ในความสงบของมิจฉาสมาธิหรือฌานแบบผิดๆทั้งในสภาพที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว หรือเกิดจากการปฏิบัติชนิดกดข่มไว้ มิได้เกิดแต่ปัญญาที่เข้าใจ ล้วนแต่เป็นผลของการปฏิบัติสมถะสมาธิและวิปัสสนาผิดวิธีอย่างแน่นอน
๑๐. นิกันติ ความพอใจ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติต่างๆของตนที่ผ่านมา พอใจในผลขององค์ฌานหรือสมาธิ เช่น ปีติ สุข อุเบกขา อันยังให้เกิดความสุข ความเบาสบาย, หรือโอภาส-ความสว่าง แสงสีต่างๆ หรือรูปนิมิต, หรือมิจฉาญาณที่เข้าใจผิดไปว่าได้บุญได้กุศล ตลอดจนพอใจในนิมิตหรือปาฏิหาริย์ต่างๆที่เกิดขึ้น หรือคิดขึ้นภายใต้อํานาจของสมถะที่ปฏิบัติและสารคัดหลั่งบางตัวที่มากเกินขนาดจากการปฏิบัติไปติดจมแช่อยู่เป็นระยะเวลานานๆ จะโดยรู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี จึงทําให้เกิดผลร้ายต่อการปฏิบัติอย่างรุนแรง ทั้งต่อกายอันจะเกิดการเจ็บป่วยต่างๆนาๆและต่อจิต, จึงก่อให้เกิดความพยายามปฏิบัติในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้คงอยู่ ทำให้เป็นขึ้น อยู่ตลอดเวลา
นักปฏิบัติใหม่ ที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติจึงควรมีความเข้าใจในฌานสมาธิอย่างถูกต้อง ต้องรู้ว่าเมื่อปฏิบัติไปถูกต้องทางฌานสมาธิแล้ว จักมีอาการหรือผลขององค์ฌาน หรือผลของสมาธิเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จึงต้องมีความเข้าใจอย่างแน่วแน่ว่านั่น เป็นอาการของจิตตามธรรมชาติธรรมดาๆ อันต้องเป็นเช่นนั้นเองเมื่อจิตมีอาการรวมตั้งมั่นขึ้น จึงอย่าได้ไปหลงใน แสง สี เสียง โดยเฉพาะภาพนิมิต เสียงนิมิต นามนิมิต ไม่ว่าจะเป็นนิมิต รูปของพระพุทธเจ้า อรหันต์ เทวดา สวรรค์ วิมานต่างๆ ตลอดจนความรู้สึกใดๆ, สมาธิหรือฌานเป็นเพียงทางผ่าน หรือแค่ขั้นบันได(บาทฐาน)เป็นเครื่องสนับสนุนเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าในวิปัสสนาญาณเท่านั้น คือใช้กําลังของจิตและความสงบไม่ซัดส่ายที่เกิดขึ้นนั้น อันย่อมมีกำลังมากกว่าปกติธรรมดา ไปพิจารณาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญาญาณ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมอย่างถูกต้องถึงแก่นถึงแกน
วิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันต้องมีสมาธิหรือฌานเป็นบาทฐานนั่นเอง แต่สมาธิหรือฌานนั้นเป็นมิจฉาสมาธิเสีย จึงเกิดการติดขัดไม่สามารถก้าวหน้าต่อไปได้ จนเกิดผลเสียร้ายแรงได้ ก็เพราะอุปกิเลสทั้ง ๑๐ แห่งวิปัสสนาเหล่านี้ นั่นเอง กล่าวคือ มิได้เกิดขึ้นเพราะธรรม จริงๆแล้วสามารถกล่าวได้ว่า สิ่งที่เป็นเหตุคือเกิดขึ้นจากการปฏิบัติเบี่ยงเบนผิดแนวทางด้วยอวิชชาไปในแนวทางมิจฉาสมาธินั่นเอง จึงส่งผลให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้น
ผลของอุปกิเลสนี้อาจเป็นข้อใดข้อหนึ่งรุนแรง แต่มักเกิดหลายๆข้อ และบางข้อเมื่อเป็นแล้วก็ส่งผลให้เกิดอุปกิเลสในข้ออื่นๆด้วย อย่างผู้เขียนเองเคยเกิดเคยเป็นครบทุกข้อ แทบเอาตัวไม่รอด จึงควรหมั่นตรวจสอบตนเองเป็นครั้งคราว โดยต้องเห็นตามความเป็นจริง ยอมรับตามความเป็นจริง เพราะโดยปกตินั้นมายาจิตของตัวตนทำให้หลง โดยการโกหกหรือหลอกลวงแมเตัวตนเอง จึงไม่ยอมรับหรือไม่เห็นเป็นไปตามความเป็นจริง โดยเฉพาะถ้าเกี่ยวกับตัวตนเอง(ทิฏฐุปาทาน) โดยการเลี่ยงไปไม่คิดให้เห็นตามความเป็นจริงบ้าง เพราะปัญญายังไม่แก่กล้าพอบ้าง หมั่นสังเกตุว่ามีวิปัสสนูปกิเลสใดเกิดขึ้น และเพียรพยายามแก้ไขเสียแต่ต้นๆมือ หรือปรึกษาผู้รู้ ก่อนที่จะสายเกินแก้หรือติดปลักอยู่กับสิ่งไร้สาระที่ให้โทษนี้ เป็นเวลานานๆ อันทําใจให้เศร้าหมองในที่สุด และทําให้รับคุณธรรมได้ยาก ตลอดจนส่งผลร้ายอย่างรุนแรงต่อกายและจิตของผู้ปฏิบัติเอง ตลอดจนบุคคลรอบข้างอันเป็นที่รัก
ผู้เขียนขอเน้นวิปัสสนูปกิเลสนี้ ในหัวข้อทั้ง ๑๐ ชื่อเหมือนกันกับหลักธรรมอันสําคัญยิ่ง อันฟังดูน่าปฏิบัติ แต่หมายถึงเป็นไปอย่างผิดๆ ผู้เขียนมีความรู้จากการอ่านในเรื่องนี้มาเกือบปีก่อนเข้าใจในธรรมบ้าง และครั้งนั้นก็ได้พิจารณาตนเองในอุปกิเลส ๑๐ นี้ แต่กลับมองไม่เห็น คือคิดว่าน้อยมากจนไม่ต้องใส่ใจ เพราะไม่ได้วางใจเป็นกลางด้วยอำนาจของทิฏฐุปาทานอันต้องมีในปุถุชน กาลต่อมาเมื่อเข้าใจในธรรมดีขึ้น แล้วมองย้อนระลึกขันธ์หรือชาติภพที่เคยเกิดเคยเป็น จึงรู้ตัวว่าผู้เขียนหลงจมปลักอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสอย่างงมงายหรืออวิชชานั่นเอง
ต้องการชี้ให้เห็นว่า แม้รู้จักวิปัสสนูปกิเลสดีแล้ว ยังต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและที่สําคัญที่สุดคือใจเป็นกลาง วางความเชื่อความยึดลงสักชั่วขณะ พิจารณาตามความเป็นจริง อย่าให้เป็นไปตามแต่ความเชื่อความคิดของตนเองแต่ฝ่ายเดียว คือ ไม่ถูกครอบงําโดย "ทิฏฐุปาทาน" ในความเชื่อ, ความเข้าใจ หรือทฤษฎีของตน, แล้วพิจารณาเพื่อจักได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติ อันส่งผลร้ายแก่นักปฏิบัติเอง ดังที่เกิดมาแล้วกับผู้เขียน
ข้อสำคัญ วิปัสสนูปกิเลสนี้เกิดขึ้นตลอดสายของการปฏิบัติ !
ถึงแม้ว่าปฎิบัติวิปัสสนาอย่างถูกต้อง วิปัสสนูปกิเลสนี้ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ แต่เบาบางและเป็นไปในลักษณะลดน้อยถอยลงไปทุกขณะตามภูมิรู้ภูมิญาณที่เกิดขึ้น จึงควรมีความระมัดระวังเสียแต่แรกๆด้วย, แต่เมื่อใดที่การปฏิบัตินั้นเป็นไปอย่างผิดๆหรือเป็นมิจฉาสมาธิ เมื่อนั้นวิปัสสนูปกิเลสจะรุนแรงและเฟื่องฟูขึ้นตลอดเวลาในลักษณะเพิ่มพูนสะสมจนเป็นอันตรายต่อตนเองอย่างรุนแรงโดยไม่รู้ตัว เพราะการถูกครอบงำของจิต
มีพระอรรถกถาจารย์ ได้กล่าวไว้ว่า "วิปัสสนูปกิเลสนี้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อเริ่มเกิด อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หรือญาณที่ ๔ใหม่ๆ อันเป็นญาณเกี่ยวกับการเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ ๕ หรือสังขารในปัจจุบันจิตหรือปัจจุบันธรรม ในขณะที่เริ่มเกิดขึ้นใหม่ๆนี้ เรียกย่อยลงไปว่า ดรุณวิปัสสนา(วิปัสสนาญาณอ่อนๆ) ถ้ารู้เท่าทันผ่านพ้นไปได้ ไม่ไปติดไปยึดในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเช่นโอภาส สุข ปีติ ฯลฯ. อันแสนเย้ายวน ชวนให้หลงผิดและติดใจอยู่ในวังวนของความพิศดาร ก็ถือว่าพ้นวิกฤติของวิปัสสนูปกิเลสไปได้"
ข้อสังเกตุง่ายๆอีกประการหนึ่งคือ ถ้าปฏิบัติแล้วเกิดอาการกระหยิ่มยิ้มย่องว่า ข้ารู้แล้ว ข้าเข้าใจแล้ว ข้าดีแล้ว มีมานะและทิฏฐิ จิตเก่ง จิตกล้า คิดเข้าใจว่าได้มรรคได้ผลทั้งๆที่ไม่ได้วิปัสสนาจนเกิดความเข้าใจเกิดนิพพิทา หรือไปยึดหมายใดๆ ตลอดจนการฝักใฝ่หรือสนใจในอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ นั่นล้วนเป็นอาการของวิปัสสนูปกิเลสล้วนสิ้น เพราะการปฏิบัติที่ถูกต้องนั้นต้องเกิดนิพพิทา คือเกิดความหน่ายคลายกำหนัด คลายความชื่นชมความยินดี เนื่องจากไปรู้ตามความเป็นจริงของธรรม จึงคลายความยึดความอยากหรือตัณหาในสังขารอันหมายถึงสิ่งต่างๆเหล่านั้น จึงไม่ใช่อาการของเหล่าผู้มีจิตเก่ง จิตกล้า มีมานะทิฏฐิสูง
___________
ผู้เขียนขอกราบอารธนาคําสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ในเรื่องโทษของอุปกิเลส๑๐ จากหนังสือโมกขุบายวิธี
โทษของอุปกิเลส๑๐
ลักษณะอาการและการละกิเลส เป็นต้น ของฌานและสมาธิ ผิดกันดังแสดงมา ฌานมีความน้อมเชื่อมาก วิริยะและปีติแรง กำลังใจกล้า โลดโผนทุกๆ อย่าง สรุปแล้ว เมื่อจิตน้อมไปตามอารมณ์ของฌาน ถ้าผู้ติดฌาน หลงฌานอย่างหนักหน่วงแล้ว จิตของตนแทบจะไม่เป็นตัวของตัวเองเสียเลยก็ว่าได้ ที่จริงฌานเมื่อเกิดขึ้นเป็นของน่าตื่นเต้น ผู้ฝึกหัดใหม่จึงชอบนัก แต่ฌานเป็นของได้ง่ายพลันหาย เพราะตกอยู่ใต้อำนาจของโลกธรรม๘ ส่วน(สัมมา)สมาธิเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นไปอย่างเรียบๆ เพราะมีสติรอบคอบตามภูมิของตน และยึดเอาไตรลักษณะเป็นอารมณ์ ไม่หลงลืมตัว ค่อยได้ค่อยเป็นไปละเอียดลงโดยลำดับ ได้แล้วไม่ค่อยเสื่อมเป็นโลกุตตรธรรม บางคนจะไม่รู้สึกตื่นเต้นในเมื่อตนได้สมาธิ เพราะไม่ได้คำนึงถึงอาการที่ตนได้มี แต่ตั้งหน้าจะทำสมาธินั้นให้มั่นและละเอียดถ่ายเดียว ฌานเป็นของน่าสนุกสนาน มีเครื่องเล่นมาก มีเรื่องแปลกๆ ทำให้ผู้ไม่รู้เท่าตามความเป็นจริงหลงติดจมอยู่ในฌาน อาการที่จิตหลงติดจมอยู่นั้นคือโทษ ของอุปกิเลส๑๐ พึงสังเกตต่อไป
โอภาส แสงสว่างย่อมปรากฏในมโนทวารวิถี ขณะเมื่อจิตเข้าถึงฌาน (ภวังค์) เมื่อจิตน้อมเชื่อไปตามแสงสว่าง และแสงสว่างนั้นก็ขยายวงกว้างออกไป มีอาการแปลกๆ ต่างๆ เหลือที่จะพรรณา
ญาณ ความรู้สิ่งต่างๆ บางทีจนกำหนดตามไม่ทัน ไม่ทราบว่ารู้อะไรบ้าง ทั้งสิ่งที่เคยรู้เคยเห็น ทั้งสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น มิใช่รู้อยู่กับสิ่งที่รู้ ยังสอดส่ายไปตามอาการตลอดถึงคนอื่น สัตว์อื่น ทีแรก จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง นานๆ เข้าก็เหลว
ปีติ ทำให้อิ่มใจจนลืมตัว
ปัสสัทธิ ทำให้สงบจากอารมณ์ภายนอก กลับเข้ามายุ่งอยู่กับอารมณ์ภายในจนไม่เป็นอันกินอันนอน เมื่อเป็นอย่างนี้นานเข้า ธาตุย่อมกำเริบ จิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ
สุข ทำให้สบายอยู่ด้วยอาการทั้งหลายดังกล่าวมา ถึงกับไม่ต้องรับประทานข้าวน้ำก็มี
อธิโมกข์ ทำให้เกิดจิตน้อมเชื่อไปในนิมิตและแสงสว่าง ความรู้มีมากเท่าไร อุปกิเลสทั้ง ๑๐ ก็ยิ่งมีกำลังรุนแรงทวีขึ้น
ปัคคาหะ ทำให้เพียรกล้าไม่หยุดหย่อนท้อถอย มีญาณความรู้คอยกระซิบตักเตือนให้ทำอยู่เสมอ
อุปัฏฐาน ช่วยให้สติแข็งแกร่งอยู่เฉพาะในอารมณ์นั้น แต่ขาดสัมปชัญญะ ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร
ถ้าอุปกิเลสทั้ง ๘ ตัวดังกล่าวมาหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งยังเกิดมีอยู่ อุเบกขา(ในวิปัสสนูปกิเลส)ก็จะไม่เกิด ถ้าทั้ง ๘ นั้นสงบลงแม้ชั่วขณะหนึ่ง อุเบกขา และ นิกันติ จึงจะเกิดขึ้น
อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจ มุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้วก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก เมื่อมีเรื่องวิปลาสเกิดขึ้นเช่นนั้น ผู้รู้เท่าและเคยผ่านมาแล้วจึงจะแก้ได้
วิธีแก้วิปลาส
อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมดก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้นสำหรับนิสัยของบางคน แต่บางคนก็ไม่มีเลย(หมายถึงปฏิบัติมาอย่างถูกต้อง-ผู้เขียน) ถ้ามันเกิดขึ้นเราควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงทำความรู้เท่าว่า นี่เป็นอุปกิเลสเป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาปัญญา และอุปกิเลสนี้เกิดจากฌานหาใช่อริยมรรคไม่ ถึงแม้วิปัสสนาญาณ ๙ แปดข้อเบื้องต้นก็เช่นเดียวกัน อย่าได้น้อมจิตส่งไปตามด้วยเข้าใจว่าเป็นของจริงของแท้ พึงเข้าใจว่านั่นเป็นแต่เพียงภาพอันเกิดจากมโนสังขาร คือจิตปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจของฌานเท่านั้น พึงหยิบยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสินว่า อุปกิเลสทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะฌาน ฌานก็เป็นโลกิยะ อุปกิเลสก็เป็นโลกิยะ โลกิยะทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรนั้นแหละเป็นทุกข์ เพราะทนต่อความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้ แล้วก็แตกสลายดับไปตามสภาพของมันเอง ซึ่งไม่มีใครจะมีอำนาจห้ามปรามไม่ให้มันเป็นเช่นนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า อนัตตา เมื่อยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสิน ถ้าจิตเกิดปัญญาน้อมลงเห็นตามพระไตรลักษณะแล้ว จิตก็จะถอนออกจากอุปาทานที่เข้าไปยึดอุปกิเลสนั้น แล้วจะเกิดปัญญาญาณเดินตามทางอริยมรรคได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าแก้อย่างนั้นด้วยตนเองไม่ได้ผล คนอื่นช่วยแก้ก็ไม่สำเร็จ เพราะผู้เป็นหลงเข้าไปยึดมั่นสำคัญเอาเป็นจริงเป็นจังเสียแล้ว บางทีจนทำให้ซึมเซ่อมึนงงไปหมดก็ดี จึงควรใช้วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย
๒. เมื่อรู้เท่าทันและเห็นโทษอย่างนั้นแล้ว จงคอยระวังจิตอย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุขเอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้ และอย่ายึดเอาอารมณ์ใดๆ อันเป็นความสุขภายในของใจ แล้วจงเปลี่ยนอิริยาบถ ๔ ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้จิตรวม แต่ให้มีการงานทำเพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นแล้ว จิตเข้าไปยึดถือจนแน่นแฟ้นจนสำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่างๆ นานา มีทิฐิถือรั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ ทั้งหมด เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะแก้ตัวเองได้ ถึงแม้อาจารย์หากไม่ชำนาญรู้จักปมด้อยของศิษย์ หรือไม่เคยผ่านเช่นนั้นมาก่อนแล้ว ก็ยากที่จะแก้เขาได้ ฉะนั้น จึงควรใช้ ...
วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย คือใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัวหรือให้เกิดความโกรธอย่างสุดขีดเอาจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี แต่ให้ระวังอย่าให้หนีได้ ถ้าหนีไปแล้วจะไม่มีหนทางแก้ไขเลย เมื่อหายจากวิปลาสแล้วจึงทำความเข้าใจกันใหม่ วิธีสุดท้ายนี้ โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตได้ผลดีเลิศ
ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส ฉะนั้น วิธีแก้จึงไม่ค่อยผิดแผกกันนัก............
.........ผู้ปฏิบัติพึงระลึกเสมอว่า ภพกายหลงง่ายละยาก ภพจิตหลงยากละยาก นิมิตและญาณที่เกิดแต่ฌานก็หลงง่ายละยาก แต่ที่เกิดแต่สมาธิหลงยากละง่าย เพราะเกิดแต่สมาธิเป็นอุบายของปัญญาเพื่อให้ละถอนอุปธิเข้าถึงสารธรรมโดยตรง.
---------------
ข้อคิด
"ทุกข์ของขันธ์๕ทางกายและใจ นั้นเป็นสภาวะธรรมยังคงมีอยู่ แต่ไม่มี "อุปาทานทุกข์"
จริงๆแล้วที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นทุกข์กันอยู่ทุกขณะก็คือ "อุปาทานทุกข์ "นี้นั่นเอง
แต่ไม่รู้จึงจําแนกไม่ออก
พนมพร
ไปอ่านติดสุขในฌานและวิธีแก้ไข
แนะนํา
วิธีเจริญจิตภาวนา
ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
คลิกที่นี่เพื่อบันทึกหน้าวิธีเจริญจิตภาวนา ไว้ใน แฟ้มFavorites
หรือ ในหนังสือ อตุโล ไม่มีใดเทียม (หน้า๔๑๕)
ผู้เขียน-อันเป็นแนวทางเจริญสติและสัมมาสมาธิ ให้เห็นความคิดนึกปรุงแต่งอย่างถูกต้อง