วันเสาร์, พฤศจิกายน 25, 2549

 

หลวงพ่อสมบูรณ์ วัดสนามใน

คำถาม: สมมติเราเผลอไป ไม่ว่าจะยาวหรือสั้นก็ตาม เรากลับมารู้สึกตัว ความคิดก็ถูกทอนไปในตัว
คำตอบ: ถูกแล้ว มันก็ตัดไปในทันที พอรู้สึกมันก็หลุดไปในทันที คือความรู้สึกของเรามันสงบ มันหยุด เดี๋ยวนี้มันหยุด เราจะพูดจะคุย ฟัง ก็ยังเห็นจิตสงบอยู่ ทีนี้ธรรมดาถ้าเราไม่เห็นอยู่ มันไม่เป็นแบบนี้ มันจะรู้สึกไป เรารู้สึกมันยึด มันเกาะ มันเกี่ยว ผูกพัน หมกมุ่น

คำถาม: เป็นสติปุถุชน ไม่ใช่อริยชน
คำตอบ: ถูกต้อง ถ้าเรามาเห็นอย่างนี้ เรียกว่าอริยะ นี่ศีล ปกติ จิตปกติ เกลี้ยงไม่มีอะไร อริยกันตศีล ก็จะมีระเบียบวินัย ก็คือจิตของเราอันนี้ ทำอะไรก็จะถูกต้องนุ่มนวล รู้จัก จะพูดไป จะมีอะไร เกิดขึ้น รู้จักจะทำอะไร หรืออะไรจะมายังไงก็รู้ก่อนแล้ว อันนี้เราต้องฝึกมาเรื่อยๆ หมายถึง ฝึกให้รู้แล้ว ถ้ายังไม่รู้ก็ต้องดูไปเรื่อยๆ ทั้งรู้ ทั้งลืม ทั้งหลง ทั้งลืม เราก็จะได้ประสบการณ์จากตัวเรา ก็จะรู้ไปเรื่อยๆ จนสติมันต่อเนื่องจริงๆ ก็เรียบร้อย อ๋อ อะไรๆ ก็อย่างนั้น จิตก็ปล่อย จิตมันไม่อยากจะไปยึดอะไร มันถอนออก

คำถาม: ถ้ามีคนถามว่า ทำไมพอเรารู้ตัว เห็นความรู้สึกตัว แล้วทำให้กิเลสมันจางออกจากใจเราได้ จะอธิบายได้อย่างไร
คำตอบ: ที่จริงมันไม่มีกิเลสอยู่แล้ว พอมารู้อย่างนี้ มันไม่มีกิเลส ถ้าไม่รู้มันจะมี ถ้ารู้มันจะว่าง ถ้าไม่รู้มันจะวุ่น อย่าไปเอาคำพูดมาตอบ มันไม่ใช่ ต้องเห็นภาวะอย่างนี้จะเข้าใจ คืออย่าไปพูดให้อะไรเป็นอะไร นี่ไม่ใช่พูดให้รู้ ไม่มีทาง

คำถาม: ตอนที่ผมเห็นสภาวะคล้ายๆ อย่างนี้ ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่า พอดีอ่านหนังสือหลวงพ่อเทียนที่พูดว่า ความจริงน้ำมันไม่ได้ขุ่น น้ำเป็นส่วนน้ำ ตะกอนเป็นส่วนตะกอน แต่ถ้ามองรวม น้ำคือขุ่น ถ้ามองแยกน้ำก็ยังคงเป็นน้ำ เหมือนจิตเราที่ยังคงเป็นน้ำ ส่วนความขุ่นนั้นคือกิเลส มันมาอยู่ในที่เดียวกันเมื่อเรามองรวม แต่ถ้าเรามองแยกก็คืออยู่คนละที่

คำตอบ: ถูกต้อง อันนี้พูดให้ฟัง เหตุผลของการพูดให้ฟังเปรียบเทียบเท่านั้นเอง เอ้า เดี๋ยวนี้ดูซิ ดูเลย ศึกษาที่เดี๋ยวนี้ดีกว่า ปัจจุบันคำว่าเห็นปัจจุบันอันนี้ของจริง ไอ้นั่นเราอย่าเอาเรื่องอะไรๆ มาพูด เรื่องสมมติขึ้นมาอันนี้ของจริง จบ เดี๋ยวนี้ไม่มีอะไร ก็รู้ว่าไม่มีอะไร มีอะไรก็รู้ว่ามันมีอะไร แม้แต่มันมีอะไร ก็ยังเห็นว่านั่นสิ่งนั้นก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ถ้าเรารู้จัก ดูให้ออกจริงๆ แยกให้ออกว่าไม่ใช่ตัวเรา ของเรา มันก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัพเพสังขาราอนิจจา สัพเพสังขาราทุกขา สัพเพธัมมาอนัตตา ต้องให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อ๋อ สิ่งเหล่านี้มันไม่เที่ยง บางครั้งเราเผลออาจจะปรุง แต่ก็เป็นเรื่องของมัน เราก็เฉยอยู่เหนือความรู้สึก เดี๋ยวมันก็ดับ ทีนี้ส่วนมากจะเป็นเรารู้สึก เราเข้าไปแล้ว นั่นแหละเกิดแล้ว

คำถาม: สมมติว่าความเผลอที่หลวงพ่อว่า ระดับไหนที่จะเรียกว่าเป็นความเผลอ
คำตอบ: ขณะที่ไม่เห็นความรู้สึกนั่นแหละ เรียกว่าเผลอแล้ว นั่นแหละลืมตัวแล้ว ต้องเห็นตัวเองตลอดเวลา ต้องฝึก มากน้อยก็อยู่ตรงนี้ที่จะพ้นทุกข์ได้ มากน้อยอยู่ตรงนี้ ถ้าเห็นตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่เผลอเลย ก็ไม่ทุกข์เลย ทุกข์จะเกิดไม่ได้ ขอให้รู้จักจริงๆ หรือขณะนี้สัมผัสก็ได้ พอรู้ตัวก็ไม่มีทุกข์ เกลี้ยงไม่มีอะไร มียินดียินร้ายมั้ย หายใจเข้ายาวๆ เราจะเห็นชัดวิธีทบทวนให้รู้ปัจจุบันตรงนี้

คำถาม: ถ้าอย่างนี้ถ้าจบกิจจริงๆ แล้วจะมีเผลอได้หรือไม่
คำตอบ: พอเรารู้จักจริงๆ แล้ว ถึงมันจะเผลอก็ไม่เกิดอะไรขึ้น เกิดอะไรไม่ได้ มันจะไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ เพราะเราชินต่ออันนี้แล้ว แต่ส่วนมากจะไม่ค่อยเผลอ ก็อยู่ที่ตัวเรา เรารู้มันจะเผลอไม่ได้ มันจะไม่เผลอ มันจะเป็นของมันเอง มันจะเห็นของมันอยู่อย่างนี้

คำถาม: ผมกำลังฝึกนี่ ผมดูอาการความเคลื่อนของจิตได้มั้ยครับ ถ้ามันไม่จบก็คือ มันเคลื่อนออก

คำตอบ: คือเห็นความเป็นไป ไม่ใช่จบหรือไม่จบ เราเห็นจิตของเรามันเป็นไปยังไง มันไม่มีไป ไม่มีมา ไม่มีเกิด ไม่มีดับ แสดงว่ามันจบ ไม่มียินดียินร้าย หรือรับรองปฏิเสธ ไม่มีขัดแย้ง ไม่มีอะไรในจิตเรา มันจะบริสุทธิ์ มันจะเกลี้ยง จบหรือไม่จบ ก็อยู่ตรงนี้ โอ้ ... ก็แค่นั้นเอง เราจะไปทำอะไร ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เกิดอะไรไม่ได้ มันรู้

คำถาม: สมมติเราต้องมีปฏิกิริยา ต้องพูดกับคนอื่น มันจะลากเราไปได้มั้ย

คำตอบ: ถ้าเราเห็นจิตของเรา เดี๋ยวนี้ยังเห็นความรู้สึก เราทำอะไรก็ทำไป ก็ไม่ลืม เราเห็นจิตของเรา มันว่างไม่มีอะไร เราจะไม่ลืมอันนี้ เราจะรู้จักเพราะเราฝึกให้รู้อยู่อย่างนี้ เห็นจิตเห็นใจตลอดเวลา ยืน เดิน นั่งนอน ไปไหนมาไหนเห็นจิตก็สงบอยู่ จะทำงานก็เห็นความสงบอยู่ ปกติอยู่ เราจะพูดจะคุยจะทำอะไรทุกอย่าง กิน เคี้ยว ดื่ม เข้าห้องน้ำ มันเห็นจิตจนไม่ลืมจิตเลย แล้วมันจะผิดปกติได้อย่างไร เราก็รู้ถ้าผิดปกติ ก็เรียกว่าผิดปกติแล้ว เราก็รู้เพื่อไม่ให้ผิดปกติ เรียกว่าประคับประคองรักษาจิต อันนี้หมายถึงว่า ใหม่ๆ เราต้องประคับประคอง ถ้ารู้แล้วมันจะเป็นเอง ปล่อยแล้วต้องปล่อยอีกที ทีแรกต้องคอยดูไว้ พอทำมากเข้ามันจะเป็นเอง เราไม่ต้องคอยประคับประคอง คอยรู้ มันจะรู้ของมันเอง

คำถาม: ช่วงหลังผมใช้เก็บอารมณ์ ไม่ต้องพบกับใคร เราดูอาการว่าปรุงไปยาวหรือปรุงไปสั้น

คำตอบ: ที่จริงเรื่องการเก็บอารมณ์หรือไม่เก็บอารมณ์ ผมว่าไม่ค่อยสำคัญเท่าไร ให้เราดูจิตตรงนี้ ตอนพูดคุยเห็นอยู่ตลอดเวลามั้ย สังเกตดู ให้เห็นตลอดเวลา ว่ามันมีเผลอมั้ย ไม่ต้องมีความคิดเห็นอะไร

คำถาม: ที่ผมสังเกตเวลาพูดคุยกับคนอื่น มันมีเผลอไป

คำตอบ: นี่ต้องฝึกสติอย่างนี้ไป อย่าให้ลืม ถ้าเราเห็น รู้ตัวเห็นจิตใจตลอดเวลา กับไม่เห็นมันต่างกัน นี่แหละจับจุดนี้ ที่มันจะเกิดกิเลสก็เกิดตรงนี้

คำถาม: ผมสังเกตว่า การพูดคุย โอกาสที่จะหลุดไป พลาดไปมีสูงกว่า

คำตอบ: อันนี้เราฝึกครับ ฝึกกับของจริงมันจะดีกว่า ที่จริงผมปฏิบัติมา ผมไม่เคยเก็บอารมณ์ และผมไม่เคยสอนแนะใครให้เก็บอารมณ์ด้วย ผมจะให้ดูอย่างนี้ แล้วมันของจริง เมื่อเราอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่าง และให้มันตื่นเนื้อตื่นตัวแข็งแรงไว้ คล่องแคล่วว่องไว ให้มันตื่นจิตตื่นใจ … หากเข้าถึงความรู้ตื่น อะไรๆ ก็เข้าไม่ได้ ตื่นโพลง รู้ตัว อะไรจะเข้าได้ พอเราดูจิตมากๆ เข้า มันผลักออก ขณะที่เราจะพูดจะคุย พยายามดูจิต ดูซิ ความรู้สึกเป็นยังไง คอยดูไว้ อย่าให้มีความคิดเห็นอะไร อย่าไปมีเจตนาอะไรๆ ให้จิตเฉยๆ ไว้ เดี๋ยวนี้ฟังเฉยๆ ท่านพูดคุยก็ยังพูดคุยอยู่ แต่จิตเราก็ยังเห็นจิตเราสงบอยู่ จิตในจิตเราไม่มีอะไร พูดคุยกับใครก็ได้ ในจิตเราไม่มีอะไร เราเห็นจิตเราไม่มีอะไร คำว่าไม่มีอะไร มันไม่มีทุกข์ ไม่มียินดี ยินร้ายอะไร แล้วทีนี้มันเกิดมีเพราะอะไร เราก็จะรู้จัก จะคอยระวังอันนั้น มันก็เกิดไม่ได้ อันนี้หมายถึงของจริง แล้วอย่าไปเก็บอารมณ์ มันไม่มีอะไร ถ้าเก็บอารมณ์ เราก็มาเดินจงกรม สร้างจังหวะ ที่นี่เราจะเน้นเรื่องการเคลื่อนไหว ไม่นั่งหลับตา เลิกอย่าไปทำ ผมแต่ก่อนก็ทำมาเยอะ พอแล้ว มีอยู่แล้วสมถะ ทีนี้เรายกขึ้นสู่วิปัสสนา ใช้ปัญญาแล้ว เอาปัญญาดูจิตนั่นเอง โอ ... สงบอยู่ จิตสงบไม่ใช่เราสงบ ส่วนมากจะเป็นเราสงบ แล้วก็เพลิน ไม่อยากรู้อะไร พออะไรกระทบปุ๊บ ไม่ทันแล้ว ผมทำมาแล้ว

คำถาม: เข้าใจครับ หลวงพ่อพูดตรงดี คือตรงลักษณะอาการที่เราต้องปฏิบัติ

คำตอบ: เรียกว่าตามความเป็นจริง เป็นวิปัสสนา คำว่าเห็นตามความเป็นจริง มันไม่ต้องไปทำ ดูเอา อ๋อ อย่างนี้ เฉยๆ ถึงจะมีอะไรเกิดขึ้นเราก็ดู อ๋อ เผลอไป อาจจะเกิดโลภะ โทสะ ความรู้สึกมันเป็นอย่างนี้ เราก็จะเห็น แล้วเป็นยังไง ผิดปกติเราก็ดูเฉยๆ อ๋อนี่ทุกข์ ทีหลังเราก็คอยระวังไว้ ไม่ให้เกิดอย่างนี้ ที่เกิดอย่างนี้เพราะอะไร เพราะเราต้องการจะดับทุกข์ ไม่ให้มีทุกข์เกิด เพื่อจะรู้จักตรงนี้ จะเกิดไม่ได้ คำว่ารู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ ไม่ทันก็ยังแก้ได้ รู้จักเปลี่ยนอารมณ์ หรือคลายถอน กลับมารู้สึกหายใจเข้ายาวๆ รู้ว่างๆ เกลี้ยง หัดตรงนี้ เอ้าเผลอไป ระวังอีก แม้แต่จะเดินอยู่ ก้ม เงย เห็นความรู้สึกตลอด หูฟังเสียง ตาดู ก็ไม่ลืม จะพูดคิดทำ ไม่ต้องไปงดอะไร ให้มันกลมกลืน ให้มันเชื่อมโยงกับอะไร ๆ ก็ยังรู้ยังเห็นอะไรได้หมด อย่าไปตัดมัน ถ้าตัดแล้วเราก็ต้องไปฝึกตรงนั้นอีก เราฝึกกับของจริงจะดีกว่า จะเร็วกว่า แต่วิธีง่ายๆ เราก็ให้สบาย หายใจเข้าออกเป็นยังไง ปลอดโปร่งโล่งอกโล่งใจดีมั้ย ใจดีมั้ย ใจเราดีก็ยิ่งอยู่กับตัว มันจะเผลอไม่ได้ มันจะไม่เผลอ จะมีที่อยู่ คำว่าวิหารธรรมเป็นเครื่องอยู่ของตัวเอง หล่อเลี้ยง หายใจยังไงให้มันอิ่มอกอิ่มใจพอดี ไปไหนก็เบาเนื้อเบาตัว มันจะไปไหน ก็อยู่กับตัว ก็เห็นอยู่นี่ มันไม่ต้องไปอาศัยอะไรๆ ไม่ต้องไปของ้อความมีความเป็นอะไร แต่ว่าทำการงานอะไร เรารู้จักหน้าที่ก็ทำไป ทำแล้วจิตใจก็ไม่มีอะไร ก็รู้ว่าอะไรต้องทำ ทำแล้วก็ไม่มีอะไร

คำถาม: ครั้งนั้นที่หลวงพ่อไปทำความสงบ ที่นั่งให้นิ่ง มีไหมครับที่พอเราออกมาจากการที่เรานั่งทำความสงบหรือความนิ่งแล้ว เราก็มีความเป็นปกติ หลังจากนั้น อยู่ได้นานอยู่เหมือนกัน

คำตอบ: ก็เป็น แต่ว่าบางทีต้องเข้าใจว่า เกิดปัญญาหรือไม่เกิดปัญญา ก่อนผมคล้ายๆ ว่า จะไม่เกิดปัญญา คือเราก็จะไปติดความสงบ พอไปอยู่กับคนอื่น แหมนี่มันทำให้เราเสียความสงบอีกแล้ว แล้วเราไม่รู้ยังหลงโทษคนนั้น ว่าเขามาทำให้เราเสียความสงบ เราก็อยากให้ทุกคนสงบ เราสงบได้แล้วนี่ แต่ตอนนี้เราจะได้หมด อยู่ที่ไหน ไม่ต้องไปขอร้อง เรียกร้องให้ใครต้องอย่างนั้นต้องอย่างนี้ จะไม่ไปโทษใคร ก่อนนี้เราจะโทษ เราจะเรียกร้อง เราต้องการให้โลกมันเรียบร้อย เป็นระเบียบ ทีนี้เราไม่ไปเอาอย่างนั้นแล้ว ตอนหลังมาดูทำไม่ได้
คำถาม: คือธรรมชาติเขาเป็นอย่างนั้น

คำตอบ: ถูกต้อง จึงว่าให้รู้จักธรรมชาติตามความเป็นจริง ผมมาเข้าใจนี้แล้วเกิดปัญญาอะไรๆ ก็เป็นอย่างนี้ คราวนี้ไม่เรียกร้องแล้ว อะไรก็ได้แล้ว ทีนี้พอเรารู้ตัว มันจะมีอะไรเกิด ก่อนเราไม่รู้ เราจะเอา เป็นไปเพื่อจะเอา จะเป็น ก็ยังมีอัตตา ตอนหลังมันไม่มีตัวเรา อ๋อ แยกความรู้สึกกับเห็นความรู้สึกตรงนี้เท่านั้น

คำถาม: มันก็ต้องค่อยๆ จางลงไปครับหลวงพ่อ

คำตอบ: ก็ต้องดูไปเรื่อยๆ ก็ต้องจางไปเรื่อยๆ พอรู้อย่างนี้ มันก็เห็นความจางคลาย นี่เราก็เห็นได้ จิตไม่ไปติดไปยึด เดี๋ยวนี้ก็ได้ ความรู้สึกไม่ไปผูกพัน ไม่ไปหมกมุ่นกับอะไร จิตก็ว่าง ว่างจากความผูกพัน ความยินดี ยินร้าย เฉยๆ มันจะไม่มีอะไร ดูไปเรื่อยๆ ค่อยๆ ดูไป มันเป็นยังไง ไม่ให้มันเป็นอย่างนั้นเพราะอะไร ให้เรารู้ทุกข์ ค่อยๆ หมดไป เราก็เข้าใจขึ้น ข้อสำคัญต้องรีบทำตรงนี้ให้มันจบ ต้องเพียรเพื่อจะรู้อันนี้ รู้จิตรู้ใจ รู้เท่ารู้ทัน เพียรเพื่อรู้ทางกาย ทางใจ รู้นอก รู้ใน

คำถาม: ผมใช้คำว่า พอเรารั้งมันมาได้ มันรู้กายรู้จิตด้วย ทีนี้พอกายรู้ ผมไม่ได้ให้รู้กายเต็มที่ ผมพยายามดูจิตซะมากที่ทำมา ทีนี้พอจิตจะคิดออกไป บางทีเรื่องที่หนึ่งไม่ทัน ต่อเรื่องที่สองเราก็ทัน แล้วจับกลับมาอีก ส่วนมากไม่ทันคิด เรื่องที่สองก็จะกลับมาได้ ยกเว้นที่แพ้ไปนาน จริงๆ ก็คือ ๒ - ๓ นาที แล้วก็กลับมาอีก วันหนึ่งๆ ก็ดูอย่างนี้ เหมือนว่าผมหยุดความคิดวันละเป็นพันเป็นหมื่นครั้ง ถูกมั้ยครับ

คำตอบ: ก็ถูก แต่นี้เราต้องมาฝึก ฝึกที่อย่าให้มีความคิดเห็น วิธีฝึกก็เดินจงกรม ได้เดินมั้ย

คำถาม: เดินครับ

คำตอบ: นั่นแหละ ขณะที่ไม่มีความคิดเห็น หายใจเข้าก็ยังเห็นความรู้สึกไม่มีความคิดเห็น หายใจออกไม่มีความคิดเห็น ขยับเนื้อขยับตัว เราจะดูอะไรก็ยังเห็น จิตของเราไม่มีความคิดเห็น ดูอันนี้ ให้รู้เท่าทันอย่างนี้ มันจะคิดไปไม่ได้ ฝึกนี่ยังต้องใช้เวลา ไม่ใช่รู้แค่นี้ ต้องทำเป็นปีเลยครับ ต้องทำให้ต่อเนื่องจริงๆ ต้องใช้ตั้ง ๖ - ๗ ปี

คำถาม: ที่เล่าคือ เราเห็นจิตที่มันแล่นออกไป ถ้ากลับมาที่ความรู้สึก มันก็กลับมาด้วย

คำตอบ: ถูกต้อง ให้รู้ตัวไว้ หูฟัง จะก้มจะเงยก็ยังเห็นจิตอยู่ตลอดเวลา ทีนี้มันไม่ตลอด ก็ต้องพยายามให้มันเห็นตลอดไว้ ก็ต้องทำอย่างไร อันนี้ก็ต้องรู้เอง ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆ จนมันอยู่ตัว ที่ท่านพูดหมายถึงมันยังไม่อยู่ตัว เราก็พยายามฝึกยังไงให้มันอยู่ตัวเท่านั้นเอง อย่าไปมุ่งอะไรอย่างนั้น พออยู่ตัวแล้วก็จะเข้าใจอะไรๆ

คำถาม: ที่ทำผ่านมาพอเรารู้ตัว ความคิดมันสั้นลง เรื่องมันสั้นลง ไม่ไปไกล ไม่ไปนาน ไม่ไปหนักด้วย ไม่ไปเกาะเกี่ยวว่าเป็นเรา ของเรา

คำตอบ: ถูกต้อง ใช่ ถ้าเห็นความรู้สึก มันจะไม่มีตัวเรา ของเรา ไอ้นั่นมันจะแยกของมันออก เราก็จะเห็นได้ ไอ้นี่เข้าไปแล้ว ก็ต้องกลับมา เราก็ต้องเอาหลักการพระพุทธเจ้า จริงแล้ว ไม่ใช่ตัวเราของเรา สิ่งที่เราดูเราเห็น

คำถาม: ผมมองว่าจิตมันเห็นความคิดหรือความเกิดดับ เกิดแล้วมันก็ดับ พอเราเห็น ทันเข้า มันเกิดเหมือนคำว่า อนิจจัง คือมันไม่เที่ยง เกิดแล้วมันต้องเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่นึกเอา

คำตอบ: ใช่ คือเห็นอาการของมัน เหมือนเห็นปฏิจจสมุปบาท นี่มันเชื่อมโยงกันยังไง นั่นแหละ

คำถาม: แล้วมันก็เกิดเป็นอนิจจัง อนัตตา แต่ไม่เกิดคำว่าทุกขัง

คำตอบ: ทุกขังแปลว่า ทนอยู่ไม่ได้ มันจะอยู่สภาพเดียวกันไม่ได้ มันต้องเปลี่ยนแปลง คือเห็นอนิจจัง ก็อันเดียวกันแหละ คือเห็นตัวของมันเองเป็นอนิจจัง ทุกขัง เมื่อเห็นอย่างนี้จึงเห็นอนัตตา ที่จริงมันไม่ใช่ตัวตน อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป อันนี้ไม่ใช่เรื่องที่เห็นได้ง่ายๆ เราต้องพิจารณาดู ใช้เวลา ไม่ใช่เราไปคิดเอา นึกเอา เราต้องเห็นอาการของมันจริงๆ ไม่ใช่เป็นการคิด คาดคะเน หรือเราไปอ่านไปฟังมา เขาว่าเป็นอย่างนั้น แล้วก็เห็นตามที่เขาพูด จำเอามาปรุง เราคาดคะเนก็เห็นเป็นอย่างนั้นได้ แต่นี้เป็นอาการของมันที่เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป เห็นความเกิดเห็นความดับ

คำถาม: ในความเป็นจริง อาการพวกนี้ต้องเกิดหลายรอบใช่มั้ยครับ เห็นครั้งเดียว ไม่ใช่ว่ามันจะอยู่เลย

คำตอบ: ถูกต้อง ถ้าเห็นความเป็นจริงครั้งหนึ่ง เราก็เปลี่ยนแปลงเข้ามาที ทำให้เราฉลาดขึ้น เข้าใจว่า อะไรขึ้นมาที มันก็จะเลื่อนจิตของเราสูงขึ้นมาทีละน้อยจนถึงที่สุด ก็อ๋อ ไม่ต้องคิด เห็นอะไรก็อ่านออกหมด ทีแรกก็ยังต้องค่อยๆ อ่าน พอมันจบ มองปุ๊บก็เห็นอะไรเป็นอะไร ไม่ไปยินดียินร้ายอะไร มันก็อย่างนั้น มันเป็นของมันเอง พอรู้ความจริง ไม่ใช่เราต้องหลุดต้องพ้นอะไร พอเห็นความจริง ไม่มีอะไร เป็นธรรมดา ทุกสิ่งเป็นธรรมดา คือเห็นธรรมดา

คำถาม: ต้องค่อยๆ เห็น หลวงพ่อว่าต้องใช้เวลาอีก ๖ - ๗ ปี นับจากตอนไหน

คำตอบ: ขณะที่พอเริ่มเห็นจิตอย่างนี้ แล้วเราต้องมาเจริญอันนี้ ถ้าเห็นแล้วไม่เจริญก็ไม่มีทาง มันจะเป็นอยู่อย่างนั้น เราต้องมาฝึก ยังเห็นจิตอยู่ ความรู้สึกจะไปไหน มาไหน เห็นความรู้สึกอยู่ พอเห็นความรู้สึกเราจะรู้ได้ว่ามันจะว่าง มันไม่มีอะไร ทีนี้ พอมันมีอะไรขึ้นมาก็รู้ทันที โอ้.... เผลอไป เราก็เข้าใจตรงนี้ ก็จะยิ่งประคับประคองอย่างไรอย่าให้มันเผลอ เราต้องเห็นได้ ขณะที่เรารู้สึกกับเห็นความรู้สึก โอ... ต่างกันอย่างนี้ แล้วยังมาทดลองทำไป จนให้มันหลุดออกจากกัน หลุดออกจากความรู้สึก แล้วจะเป็นยังไงๆ มันก็ไม่เกิดแล้ว เกิดไม่ได้ ทีนี้ขณะที่ยังติดกันอยู่ เป็นการให้มันขาดออกจากกัน แล้วมันจะไม่ไปเชื่อมกับอะไรอีกแล้ว ขณะที่ยังเชื่อมอยู่ ก็ต้องคอยประคับประคอง จนให้มันเห็นถึงที่สุดของมัน ขาดออกจากกัน เหมือนสัญลักษณ์หลวงพ่อเทียน เชือกขึงสองข้างตัดตรงกลางแล้วมาต่อกันไม่ได้แล้ว มันจะไมถึง คืออายตนะ เราก็จะเห็นได้ที่จิตเรา อ๋อ มันไม่ถึงกันอย่างนี้ ไม่ใช่ฟังคำพูด เราต้องเห็นที่จิต

คำถาม: ตอนที่เชือกมันเปื่อยๆ ผู้ปฏิบัติพอจะเห็นได้มั้ยครับ

คำตอบ: มันก็เบาบางลง แต่มันไม่เห็นขาด แต่ถ้ามันขาดจริงๆ มันเห็นขาดจริง ๆ มันหลุดออกจากกัน อย่างหลวงพ่อเทียนเปรียบเทียบปลิงมันเกาะ เราเอายาสูบไปจี้หลุด เห็นความหลุด กระทบล่อน กระทบมันไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรดับ ปฏิบัติจนเข้าถึง เห็นเลยมันไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรดับ มีทั้งเหตุทั้งปัจจัย มีอะไรพร้อมหมด แต่มันเกิดไม่ได้ ก็เห็นที่จิต เราไม่ได้ไปเห็นที่ไหน สำคัญที่สุดเลย ชีวิตเราเกิดมาทำไม เกิดมาให้รู้จักอันนี้ ถ้าไม่รู้จักเรียกว่าเสียชาติเกิด ฉะนั้น ชาติของเราเรียกว่ามหาชาติ ไม่ต้องบำเพ็ญหรอก เอาให้มันได้ชาตินี้ เดี๋ยวนี้เลย เดี๋ยวนี้ เห็นเดี๋ยวนี้ก็ไม่มีแล้วใช่มั้ย ถ้าเราเห็นอย่างนี้เรื่อยๆ ก็เห็นปัจจุบัน อย่าไปนึกถึงเรื่องอดีตอนาคต ปล่อยไปให้หมด แล้วจะไม่มีความรู้อะไร รู้ก็รู้แต่จิตแต่ใจ ไม่ได้รู้อะไร ไม่ได้จำอะไร เกลี้ยงไม่มีอะไร ไม่มีความรู้อะไร ความรู้อะไรในจิตไม่มี เขาเรียกว่าง ว่างจากอะไร ไม่มีอะไร เห็นจิตของเรา ดูจิตในจิต คือสติปัฏฐานสี่ อันเดียวกันนั่นแหละ เห็นกาย เห็นเวทนาก็ต้องขณะเดียว เห็นทั่วถึง ดูได้ทั่วถึง เรากำลังนั่งดูทั้งตัวเห็นได้ใช่มั้ย ดูใจด้วยก็เห็นทั้งใจเห็นทั้งกาย นี่คำว่าทั่วถึง รู้ทั่วถึง เห็นทั่วถึง ให้มันถึงจริงๆ

คำถาม: ผมเปรียบเทียบกันสายอื่นเช่นสายอาจารย์มั่น ก็มีคนบรรลุธรรมใช่มั้ย

คำตอบ: จะวิธีไหนก็แล้วแต่ ที่สุดของที่สุดต้องมารู้อย่างนี้ก็แล้วกัน อย่าไปบอกว่าสายไหนๆ ได้หรือไม่ได้ แม้ของหลวงพ่อเทียน มันไม่ใช่รู้ได้ทุกคน ถ้าไม่รู้อย่างนี้มันไม่มีทาง

คำถาม: บางทีท่านจะเน้นพิจารณาให้เกิดปัญญา

คำตอบ: นี่คำพูด บางทีต้องระวัง ขณะที่เราเห็น เรารู้อะไร เป็นอะไรในนั้น เสร็จแล้วนั่นคือ พิจารณา อย่าเอาคำพิจารณามาพิจารณาอีก ก็เลยเป็นสังขาร คำว่าสังขารเป็นทุกข์นี่ต้องระวัง บางทีจะไม่รู้ตัวเลยนะ คำว่าสังขารกับวิสังขาร สังขตะ อสังขตะ เราต้องเข้าใจให้ได้ อสังขตะแปลว่าไม่ปรุงแต่ง สังขตะแปลว่าปรุงแต่ง ถ้าปรุงแต่งแปลว่าเป็นทุกข์ บางครั้งอาจสบายใจ พออกพอใจก็ได้ แต่ว่านั่นคือทุกข์เกิด

คำถาม: ผมเข้าใจอย่างหลวงพ่อว่า คำว่าพิจารณาคือเราเข้าไปเห็น

คำตอบ: เข้าไปเห็นนั่นแหละ เราก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไร มันเสร็จอยู่ในตัว ผมจะไม่พูดให้ใครว่า พิจารณา เพราะผมเคยโดนกับตัวเองมาแล้วไปพิจารณา แยกให้เป็นกระดูกอะไรต่ออะไร อย่างนี้มันไหลไปแล้ว มันเป็นความคิดไปแล้ว บางทีมันซ้อนนะ แล้วคนไม่รู้ด้วย มันไปไกลเลย รู้กับไม่รู้มันต่างกันมากนะ

คำถาม: คำว่าพิจารณาอสุภะในขั้นแรก คือทำให้เป็นอสุภกรรมฐานเพื่อให้จิตสงบ ทีนี้คนไปเข้าใจว่าทำอสุภะเพื่อให้เกิดปัญญา

คำตอบ: มันก็ถูก แต่ทีนี้คนเข้าใจให้มันถูก แต่ผมไม่เคยใช้เลยกรรมฐาน 40 ก่อนนี้ เราต้องใช้กรรมฐานอย่างนี้ โอ ทำไมมันยุ่งยากอย่างนี้ จนที่เราศึกษาอะไรไปเรื่อยแล้วก็มาได้ฝึกการเจริญสติอันนี้ งั้นก่อนที่จะเข้าใจเรื่องสติ ผมเสียเวลาตั้งสิบกว่าปี ผมทำถูกที่ไหน แต่ผมฟังเขารู้เรื่องไป ผมคิดว่า ผมรู้ผมเข้าใจ แต่ทุกข์ก็เบาลงไป แต่มันไม่ใช่ มันไม่หลุดไม่พ้น ข้อสำคัญต้องเห็นตัวหลุดตัวพ้น คำว่าวิมุตติ คำว่าสมมติ ส่วนมากเราจะไปติด แล้วเราไม่ติดอะไร จิตไม่ติดอะไร ไม่ใช่ว่า โอ๊ย เราไม่ยึดติดอะไร มันไม่ใช่แบบนั้น นั่นมันคิดเอานึกเอา ไม่ใช่ คือเห็นจิตของเรา อ๋อ มันหลุดจากอะไรๆ มันไม่ติด มันไม่ยึดอย่างนี้เอง ไม่ใช่เรานะ ไม่ใช่เราไม่ติดไม่ยึดนะ เห็นความรู้สึกของเรามันไม่ติดไม่ยึด เห็นมั้ยลึกซึ้ง

คำถาม: เข้าใจวิธีทำ แต่ว่า มันต้องทำให้ต่อเนื่อง

คำตอบ: ต่อเนื่องให้มีสติ ให้เรารู้ตัว พอเรารู้ตัวแล้ว ก็ต้องดู สงบหรือไม่สงบ ในจิตมีอะไรมั้ย ปกติมั้ย ต้องเขี่ยตลอดเวลา มันไม่เที่ยง แป๊บเดียวเปลี่ยน มันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แป๊บเดียว ไม่ทันมันเลย มันเร็วจริงๆ มีแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา โอ้โฮ งั้นเราต้องคอยเช็คตลอดเวลาใช่มั้ย ทำจนเห็นอยู่ตลอดเวลา ดูจนเห็นตลอดเวลา มันไม่เห็นตลอดเวลา เราก็ต้องมาฝึกจนมันเห็นตลอดเวลา อย่าไปทำอย่างอื่น ผมทำมาแล้วจริง เห็นความรู้สึกอยู่สบายก็ได้ ไม่สบายก็ได้ มันไม่สบายก็รู้ว่าไม่สบาย ก็เฉยๆ ไว้ อย่าว่าเป็นเรารู้สึก ก็เรียกว่าเราเข้าไปตั้ง

คำถาม: ไม่สบายของหลวงพ่อคือ ไม่สบายกายหรือไม่สบายใจ

คำตอบ: หมายถึงกายเราไม่สบาย หรือใจเราไม่สบาย เราก็รู้ได้ เดี๋ยวนี้ไม่สบายเราก็รู้ว่าไม่สบาย เราก็ดูเฉยๆ ให้เห็นเป็นสองสิ่ง คำว่าสิ่งที่ถูกรู้กับผู้รู้ให้เห็นอย่างนี้ กับว่าเป็นเรารู้สึกอย่างนี้มันไม่ใช่ นั่นเราเข้าไปตั้ง

คำถาม: ถ้าจบกิจแล้ว จะมีความไม่สบายใจอีกมั้ยครับ

คำตอบ: ไม่เป็น

คำถาม: ไม่ได้เลยใช่มั้ยครับ

คำตอบ: ที่ไม่สบายใจแสดงว่ายังไม่หมดสงสัย เมื่อหมดสงสัยมันจะไม่มีอะไรเกิดไม่มีอะไรดับ ไม่มีหรอก หงุดหงิดฟุ้งซ่าน ไม่มี เรียบร้อยเป็นปกติ อย่าไปมุ่งเอาอย่างอื่น คำพูดส่วนมากเราจะไปติด ติดตำรา เรื่องนี้อย่าไปติด เอาที่ตัว จริงๆ มันไม่ใช่เป็นอะไร อย่าไปคิดว่าเป็นพระอรหันต์ เป็นอนาคาเป็นอะไร ทิ้งไปให้หมด มันไม่ได้เป็นอะไร ให้เห็นธรรมชาติอย่างเดียวพอแล้ว เห็นความไม่มีทุกข์พอแล้ว

คำถาม: มันก็เลื่อนไปเอง ไม่ต้องบังคับมันก็เลื่อนไปเอง

คำตอบ: ใช่ มันเป็นไปเอง ขอให้เราดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เราจะเข้าใจไปเรื่อยๆ เห็นคือให้อ่านตามศึกษา งั้นการปฏิบัติก็คือศึกษา เราก็ดูนั่นแหละที่ใช้คำว่าพิจารณา แต่ที่จริงมันไม่ใช่การพิจารณาอย่างที่คนเข้าใจ ใช่มั้ย เดี๋ยวนี้เห็นได้มั้ย เราก็เห็นความรู้สึก รู้สึกสงบไม่สงบ มันไม่สงบเราจะให้มันไม่สงบหรือ เราก็ปรับมันให้สงบได้ใช่มั้ย นี่เรียกว่าเราทำจิตของเราได้ ทีแรกยังต้องทำ ต้องทำจนเรารู้ทันจริงๆ มันไม่ตัองทำมันเป็นเอง มันจะเสียไม่ได้

คำถาม: ที่ทำมากันนี่มีผู้ที่ถึงเป็นธรรมชาติอย่างนี้มีมากไหม

คำตอบ: คิดว่าไม่มาก ไม่มากแน่ คือมองแล้วคนไม่จริงจัง หรือที่จริงจังก็ทำไม่ถูก มันไม่ตรง ไม่ตรง แล้วไม่มีทาง

คำถาม: แต่ก็พอให้เขาคลายทุกข์ได้บ้าง แต่ว่าถึงที่สุดทุกข์จะมีน้อยใช่ไหม

คำตอบ: น้อย หมายถึงว่าถึงที่สุดจริงๆ มีน้อย ที่ไม่เยอะเพราะบางทีมีหลายๆ อย่าง เอาเถอะ เราเข้าใจที่ตัวเราอันนี้ เราทำไปแล้วเราจะเข้าใจ เราจะอ่านออก

คำถาม: คือเป็นแค่ความรู้สึกเปลือกๆ ถ้าไปรู้คนอื่นก็ต้องดูที่ตัวเราอยู่ดี

คำตอบ: อันนี้พูดยากจริงๆ นอกจากเรามารู้ที่ตัวเรา ไม่ว่าอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมาเห็นที่ตัวเรา พอให้จิตเราสงบปกติได้ เข้าถึงความปกติจริงๆ มันเห็นชัดเหมือนน้ำที่ใส จะมีอะไรมั้ยเห็นชัดหมด เห็นหมด แล้วตอนนี้ มันจะหมดสงสัย มันเห็นอะไรหมด รู้อะไรเป็นอะไร หมดสงสัย อันนี้ก็พูดไปตามภาวะที่ผมพูดผมอ่านจากใจ แต่ไม่ใช่คิดนึก จิตก็ไม่คิดอะไรจิตก็พัก ความรู้สึกพักอยู่ สงบอยู่ หายใจเข้าหายใจออกให้มันกลมกลืนยิ่งขึ้น ประคับประคองให้มันดียิ่งขึ้น จิตพักอยู่หยุดอยู่ เราจะทำการทำงาน จิตเราไม่ต้องไปทำ ไม่ต้องมีความรู้สึกว่า เราต้องไปทำอะไร ก่อนนี้ถ้าเราไม่เห็นความรู้สึก เป็นว่าเรารู้สึกไปเรื่อย เป็นว่าเราทำ ปฏิบัติก็เรา นั่นกิเลสมันแย่งทำไปหมด พอเราเห็นความรู้สึก มันก็หยุดหมด มันไม่มีเรา คำว่ามีเรา ถ้าคนไม่ได้เห็นจิต เอ๊ะไม่มีเราได้ไง เพราะเขาอยู่กับเรา เขาติดเรา อยู่กับความมี

วันพุธ, พฤศจิกายน 22, 2549

 

บทปลงสังขาร

บทปลงสังขาร (แบบโบราณ)

มนุษย์เราเอย .......... เกิดมาทำไม
นิพพานมีสุข .......... อยู่ใยมิไป
ตัณหาหน่วงหนัก .......... หน่วงชักหน่วงไว้
ฉันไปมิได้ .......... ตัณหาผูกผัน
ห่วงนั้นพันผูก .......... ห่วงลูกห่วงหลาน
ห่วงทรัพย์สินศฤงคาร .......... จงสละเสียเถิด
จะได้ไปนิพพาน .......... ข้ามพ้นภพสาม

ยามหนุ่มสาวน้อย .......... หน้าตาแช่มช้อย
งามแล้วทุกประการ .......... แก่เฒ่าหนังยาน
แต่ล้วนเครื่องเหม็น .......... เอ็นใหญ่เก้าร้อย
เอ็นน้อยเก้าพัน .......... มันมาทำเข็ญใจ
ให้ร้อนให้เย็น .......... เมื่อยขบทั้งตัว
ขนคิ้วก็ขาว .......... นัยน์ตาก็มัว
เส้นผมบนหัว .......... ดำแล้วกลับหงอก
หน้าตาเว้าวอก .......... ดูหน้าบัดสี

จะลุกก็โอย .......... จะนั่งก็โอย
เหมือนดอกไม้โรย .......... ไม่มีเกสร
จะเข้าที่นอน .......... พึงสอนภาวนา
พระอนัจจัง .......... พระอนัตตา
เราท่านเกิดมา .......... รังแต่จะตาย
ผู้ดีเข็ญใจ .......... ก็ตายเหมือนกัน
เงินทองทั้งนั้น .......... มิติดตัวเรา

ตายไปเป็นผี .......... ลูกเมียผัวรัก
เขาชักหน้าหนี .......... เขาเหม็นซากผี
เปื่อยเน่าพุพอง .......... หมู่ญาติพี่น้อง
เขาหามเอาไป .......... เขาวางลงไว้
เขานั่งร้องไห้ .......... แล้วกลับคืนมา
อยู่แต่ผู้เดียว .......... ป่าไม้ชายเขียว
เหลียวไม่เห็นใคร .......... เห็นแต่ฝูงแร้ง
เห็นแต่ฝูงกา .......... เห็นแต่ฝูงหมา
ยื้อแย่งกันกิน .......... ดูน่าสมเพช

กระดูกกูเอ๋ย .......... เรี่ยรายแผ่นดิน
แร้งกาหมากิน .......... เอาเป็นอาหาร
เที่ยงคืนสงัด .......... ตื่นขึ้นมินาน
ไม่เห็นลูกหลาน .......... พี่น้องเผ่าพันธุ์
เห็นแต่นกเค้า .......... จับเจ่าเรียงกัน
เห็นแต่นกเสก .......... ร้องแรกแหกขวัญ
เห็นแต่ฝูงผี .......... ร้องไห้หากัน

มนุษย์เราเอ๋ย .......... อย่าหลงกันเลย
ไม่มีแก่นสาร .......... อุตสาห์ทำบุญ
ค้ำจุนเอาไว้ .......... จะได้ไปสวรรค์
จะได้ทันพระเจ้า .......... จะได้เข้าพระนิพพาน

อะหัง วันทามิ สัพพะโส นิพพานะปัจจะโย โหตุ








--------------------------------------------------------------------------------


บทปลงสังขาร (แบบสมัยใหม่)

มนุษย์เราเอ๋ย .......... เกิดมาทำไม
นิพพานมีสุข .......... หมดทุกข์มิไป
ตัณหาหน่วงหนัก .......... คอยชักหน่วงไว้
ฉันไปไม่ได้ .......... ตัณหาผูกพัน
ห่วงนั้นพันผูก .......... ห่วงลูกห่วงหลาน
ห่วงทรัพย์สินศฤงคาร .......... สละมันเถิด
ชีวิตประเสริฐ .......... หยุดเกิดนิพพาน
ข้ามพ้นสังขาร .......... ละสังขารไป

ยามเมื่อหนุ่มสาว .......... รูปเจ้าก็งาม
แก่ลงงุ่มง่าม .......... ไม่งามตรงไหน
เอ็นใหญ่เก้าร้อย .......... เอ็นน้อยเก้าพัน
ช่วยยึดสังขาร .......... ของท่านเอาไว้
หนาวมากร้อนมาก .......... ก็อยากจะตาย
ต้องกินต้องถ่าย .......... วุ่นวายทั้งวัน
ขนคิ้วก็ขาว .......... ตาเจ้าก็มัว
เส้นผมบนหัว .......... หงอกทั่วถึงกัน

จะลุกก็โอย .......... จะนั่งก็โอย
เหมือนดอกไม้โรย .......... โอดโอยสังขาร
พึงเร่งภาวนา .......... อย่าช้าเร็วพลัน
ให้เห็นสังขาร .......... เราท่านเกิดมา
เป็นอนิจจัง .......... ทุกขังอนัตตา
สร้างแต่ปัญหา .......... พาให้ทุกข์ทน

ชีวิตร่างกาย .......... ต้องตายเป็นผี
ลูกผัวที่มี .......... เขาหนีสับสน
เปื่อยเน่าพุพอง .......... พี่น้องทุกคน
เขาช่วยกันขน .......... ร่างตนเอาไป
พวกญาติพี่น้อง .......... หามล่องสู่เมรุ
ลำบากยากเข็ญ .......... ร่างเหม็นหนอนไช
ต้องถูกไฟไหม้ .......... ย่างบนกองฟอน
เป็นที่แน่นอน .......... เมื่อตอนเจ้าตาย
โลภโมโหสัน .......... ของฉันของแก
สิ่งใดไหนแน่ .......... เที่ยงแท้ไฉน

ทรัพย์สินเงินทอง .......... เป็นของนอกกาย
เอาไปไม่ได้ .......... ทิ้งไว้ทุกคน
สมบัติทั้งมวล .......... เรือกสวนไร่นา
ที่เจ้าอุตส่าห์ .......... ทำมาแต่ต้น
ใช่เป็นของเจ้า .......... จะเอาติดตน
มันไม่มีผล .......... ให้คนอื่นไป
เงินบาทหนึ่งนั้น .......... ลูกหลานใส่ปาก
สัปเหร่อยังควัก .......... ไม่อยากให้ใช้
เงินในธนาคาร .......... ลูกหลานเอาไป
ต่างแย่งแบ่งใช้ .......... หมดไปไม่นาน

มนุษย์เราเอ๋ย .......... อย่าหลงนักเลย
เป็นกรรมก่อเกย สังเวยสังขาร
จงรีบทำบุญ .......... คำจุนศีลทาน
มุ่งสู่นิพพาน .......... ด้วยกันทุกคน

 

หนักกายหนักใจ

หลวงปู่ทองรัตน์ไม่รู้สึกอะไร ภาวนาตามธรรมดา หลวงปู่มั่นได้แนะนำว่า รู้ไม่รู้ไม่สำคัญขอให้ทำจิตใจให้รู้จักจิตว่าสงบหรือไม่สงบ พระอาจารย์ทองรัตน์ได้ออกวิเวกเที่ยวธุดงค์ไปแล้วกลับมาถามพระอาจารย์มั่นอีก โดยถามว่าจิตสงบเป็นอย่างไร พระอาจารย์มั่น ถาม "เท่าที่ทองรัตน์ ปฏิบัติทุกวันนี้รู้สึกว่าเป็นแบบใด" พระอาจารย์ทองรัตน์ตอบว่า "มีเหตุหนักกายหนักใจ ใจฝืดเคืองนัก" พระอาจารย์มั่นแนะนำว่า "เรื่องที่หนักกายหนักใจนั่น ไม่ใช่เพราะการบำเพ็ญภาวนา แสดงว่ามีความเชื่อมั่นศรัทธาอยู่ในการปฏิบัติอยากทำ แต่ไม่รู้จักวิธี การปฏิบัติให้รักษาจิต รักษาระเบียบวินัย กิจวัตร ข้อวัตรวินัยต้องเข้มงวด ปฏิบัติถึงแล้วก็จะเกิดเมตตา มีเมตตาแล้วแสดงว่ามีศีลบริสุทธิ์ มีศีลบริสุทธิ์แล้วจิตก็สงบ จิตสงบแล้วจะเกิดสมาธิ" พระอาจารย์ทองรัตน์ได้อุบายธรรมปฏิบัติแล้วได้นมัสการลาออกหาวิเวกธุดงค์ จนกระทั่งรู้จักสมาธิแล้ว จึงมาหาท่านพระอาจารย์มั่น และได้เล่าให้ท่านฟังว่า ผมรู้จักแล้วสมาธิ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงถามว่าที่ว่ารู้จักนั้น รู้จักแบบไหน พระอาจารย์ทองรัตน์ตอบว่า รู้จักเมื่อเป็นสมาธิแล้วก็เบากาย เบาจิต หลวงปู่มั่น ได้แนะนำต่อว่า จิตสงบแล้วก็ให้พิจารณาขันธ์ 5 ให้รู้จักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

วันศุกร์, พฤศจิกายน 17, 2549

 

http://larndham.net/index.php?showtopic=23090&st=44

ผมยังคงรักษาความเร็วในการวิ่งได้ตลอดระยะ ๑๖ กิโลเมตรแรก...แล้วอยู่ๆก็เกิดอาการกล้ามเนื้อล้าขึ้นมาทันที คนที่ตามมาข้างหลังค่อยๆแซงเราขึ้นไปเป็นกลุ่มใหญ่ จริงอยู่การวิ่งมาราธอนเป็นการวิ่งที่มีเป้าหมายเพื่อเวลาที่ดีที่สุดของตัวเอง แต่เมื่อมีคนกลุ่มใหญ่แซงหน้าขึ้นไป...มันบ่งบอกว่าสปีดในการวิ่งเราตกไปมาก ใจเริ่มเสียขึ้นมาทันที ไม่คิดว่าจะมาเกิดอาการแรงตกก่อนถึงครึ่งทาง แต่ The show must go on.... ดังนั้นนักวิ่งมีหน้าที่ประคองตัวเองวิ่งต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงเส้นชัย ดังนั้นในเมื่อความเร็วตกลง...เราก็ยังคงซอยฝีเท้าเหมือนเดิม อาจจะแผ่วลงไปบ้างก็ช่างมัน เร่งตอนนั้นไม่มีประโยชน์ จังหวะในการลงฝีเท้าสำคัญ บางช่วงจำเป็นต้องแผ่ว และกลับมาเร่งในช่วงที่จังหวะในการวิ่งและแรงกลับมาสู่สภาพเดิม เร่งตลอดจะไปไม่ถึงเส้นชัยเพราะอาจจะหมดแรงก่อน ระยะทางสำหรับการแข่งขันฟูลมาราธอนยาวถึง ๔๒.๑๙๕ กิโลเมตร ดังนั้นระยะทางที่ผมวิ่งมาถึงตอนนี้ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่ง เหลืออีกกว่า ๒๕ กิโลเมตรที่ต้องวิ่งต่อ ถ้าแรงตกยิ่งจำเป็นต้องประคองให้กำลังขาไม่ล้าจนเกินไป พอจะมีเรี่ยวแรงวิ่งต่อให้ครบระยะ ๔๒ กิโลเมตร Split time สำหรับความเร็วที่ใช้ในการวิ่ง ๑๐ กิโลเมตรที่สองแย่กว่า ๑๐ กิโลเมตรแรกกินไป ๑ ชั่วโมงกับเศษไม่ถึง ๕ นาที ในขณะที่ ๑๐ กิโลเมตรแรกใช้เวลาน้อยกว่า ๑ ชั่วโมง ผมเริ่มมีอาการปวดขามากขึ้นเรื่อยๆ อดทนวิ่งไปให้ถึงระยะครึ่งทางคือ ๒๑.๐๙๕ กิโลเมตร และตัดสินใจหยุดยืดกล้ามเนื้อเมื่อวิ่งมาถึงที่ระยะ ๒๒ กิโลเมตร เวลาที่เราเสียไปกับการยืดกล้ามเนื้อกลับมีผลดีต่อการวิ่งในระยะที่เหลือต่อไป เพราะว่าเรารู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่ใช้งานมากว่า ๒ ชั่วโมงมีการผ่อนคลาย คลายอาการปวดเมื่อย ผมเริ่มกลับมาวิ่งต่ออีก แม้ว่าความเร็วคราวนี้จะตกลงมาเหลือราวๆ กิโลเมตรละ ๘ นาที จากเดิมที่รักษาความเร็วไว้ได้ไม่เกิน ๖ นาที/กิโลเมตร แต่ในเมื่อสภาพร่างกายเป็นแบบนี้ มันมีอาการเมื่อย ยิ่งฝืนยิ่งได้เรื่อง ประคองไปเรื่อยๆดีกว่า ในระหว่างวิ่งในหัวของผมนึกถึงแต่เวลา " ๔ ชั่วโมงกับ ๕๗ นาที" ตลอดเวลา ระหว่างที่วิ่งได้ยินเสียงกลองไทโกะที่เด็กๆเขาตีเป็นระยะๆ การได้ยินกลองไทโกะที่เด็กๆตีทำให้รู้สึกมีพลังมากขึ้น เป็นครั้งแรกที่เริ่มรู้สึกชอบจังหวะที่ไม้กระทบลงบนหนังกลองเป็นจังหวะเร้าใจ มีพลัง ปลุกปลอบใจให้ฮึกเหิมขึ้น มันเข้ากับจังหวะลงฝ่าเท้า ที่ผมไม่แน่ใจก็คือ ในการแข่งขันมาราธอนในเมืองไทย...เรามีการใช้เครื่องดนตรีไทยๆอย่างกลองยาว คอยตีเชียร์ให้กำลังใจนักวิ่งกันบ้างไหม? เพราะจนถึงตอนนั้นผมยังไม่เคยมีประสบการณ์การแข่งขันมาราธอนในไทย ความเร็วที่ตกลงไปก่อนหน้านั้น ปรากฏว่าร่างกายเริ่มปรับตัวได้ค่อยๆปรับสภาพความเร็วเพิ่มขึ้น จังหวะในการซอยเท้าเริ่มถึ่ขึ้น ความเร็วเพิ่มขึ้นโดยที่เวลาลดลงเหลือน้อยกว่า ๗ นาที/กิโลเมตร ผมวิ่งจากอาการปวดน่องและต้นขาจนอาการปวดหายไปเอง วิ่งไปมีแึต่จังหวะแกว่งแขวนไปมาที่ไม่เคยหยุด จากระยะสูงสุดตอนซ้อมที่เคยวิ่งได้ที่ ๒๕ กิโลเมตร....ผมกำลังผ่านระยะ ๒๕ กิโลเมตรโดยที่ยังมีแรงเหลือพอที่จะวิ่งต่อไปโดยที่ไม่จำเป็นต้องเดิน ผมบอกกับตัวเองว่าจะลองดูว่ากำลังขาจะวิ่งต่อไปถึงระยะ ๓๐ กิโลเมตรไหม? ระยะ ๒๗ กิโลเมตรผ่านไป ระยะ ๒๘ กิโลเมตรผ่านไป ระยะ ๒๙ กิโลเมตรผ่านไป พอผ่านระยะ ๓๐ กิโลเมตรผมตกใจที่ใช้เวลาน้อยกว่า ๓ ชั่วโมง ๒๐ นาทีเป็นเวลาที่ไม่เคยทำได้ระหว่างที่ซ้อม ผมจะลองดูว่ากำลังขาของผมจะวิ่งได้ไกลขนาดไหน ผมผ่านระยะ ๓๒ กิโลเมตรโดยที่กำลังขายังไม่มีทีท่้าจะตกลง ยังคงวิ่งต่อไปด้วยความเร็วเท่าเดิม ที่ระยะ ๓๕ กิโลเมตร ทางผู้จัดการแข่งขันเขามีไอศครีมแจกฟรีให้แก่นักวิ่ง บอกกับตัวเองว่าอย่างไรจะวิ่งไปให้ถึงระยะ ๓๕ กิโลเมตรให้ได้ พอวิ่งถึงระยะ ๓๕ กิโลเมตรจริง รับไอศครีัมเชอร์เบทมาทาน....ต้องยอมรับว่าตอนนั้นไม่เคยทานไอศครีมอร่อยแบบนี้มาก่อน ทานไอศครีมเสร็จ..ดูเหมือนมีพลังเพิ่มขึ้นอีกเยอะ ความจริงทุกๆระยะ ๓ กิโลเมตรเขามีจุดให้น้ำ น้ำเกลือแร่ ขนมปัง กล้วย ให้แก่นักวิ่งทุกคน ตอนแรกคิดว่าการแวะทานของพวกนี้เสียเวลา แต่กลับปรากฏว่าการแวะทานของพวกนี้กลับทำให้ร่างกายเราสดชื่น กระปี้กระเปร่ามากขึ้น โดยเฉพาะน้ำเกลือแร่และกล้วยหอมที่ภายหลังจากทานแล้วผมรู้สึกสดชื่นมากขึ้น มีแรงวิ่งต่อได้สบายๆ ผมยังคงวิ่งต่อเนื่องมาจนถึงระยะ ๔๐ กิโลเมตรโดยไม่ได้หยุดพักเลย แปลกใจกับตัวเองว่าไปเอาเรี่ยวแรงมาจากไหน วิ่งเอาๆๆไม่เคยหยุดเลย วิ่งไปในใจก็คิดแต่เวลา "๔ ชั่วโมง ๕๗ นาที" ผมวิ่งจนมาถึงบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำอาราซึ่งใจชื้นขึ้นเพราะเป็นสัญลักษณ์ว่าเหลือระยะทางไม่ถึง ๒ กิโลเมตรก็จะถึงเส้นชัยแล้ว ตอนนั้นดูเวลาแล้วรู้ว่้าถ้ารักษาความเร็วขนาดนี้เราสามารถไปถึงเส้นชัยภายในเวลา ๔ ชั่วโมง ๕๗ นาทีได้สำเร็จ แต่ผมไม่ประมาท..ชะล่าใจไม่ได้...เพราะยังมีเรื่องของความไม่แน่นอน อาจจะมีอาการบาดเจ็บซึ่งทำให้ทำเวลาได้แย่ลงก็ได้ เหลือระยะทางอีก ๕๐๐ เมตรสุดท้าย คนกำกับจุดเขาตะโกนบอกนักวิ่งว่า "เหลืออีกแค่ ๕๐๐ เมตรเท่านั้น พยายามวิ่งต่อไปให้ถึงเส้นชัยนะ" ตอนนั้นผมกลับพบว่ามีแรงก๊อกสอง เร่งขึ้นมาได้อีกจนตัวผมเองประหลาดใจทั้งที่เราวิ่งมาร่วม ๔๐ กิโลเมตรแล้วก็ตาม แรงมันมาจากไหน ทำไมยังสามารถเร่งขึ้นมาได้อีก? ได้ยินเสียงกลองไทโกะที่เส้นชัยชัดเจนขึ้น ผมวิ่งมาจนเหลือราวๆ ๕๐ เมตรสุดท้าย ดูจากนาฬิกาข้อมือแล้วยังสามารถวิ่งทำเวลาได้ภายใน ๔ ชั่วโมงกับ ๕๑ นาทีทัน ผมเร่งฝีเท้าสุดขีดราวกับแข่งวิ่งระยะ ๑๐๐ เมตรเพื่อให้สถิติประวัติศาสตร์ฟูลมาราธอนครั้งแรกในชีวิตบันทึกเอาไว้ที่่ ๔ ชั่วโมง ๕๑ นาทีสำเร็จ รองเท้าผมวิ่งแตะผ่านเซ็นเซอร์ ได้ยินเซ็นเซอร์ส่งเสียง วี๊ดๆ.....ดังนานๆอยู่สองครั้ง การแข่งขันโตเกียวอารากาว่ามาราธอนของผมเป็นอันสิ้นสุดลง มองดูนาฬิกาข้อมืออย่างภูมิใจ ผมทำเวลาได้ ๔ ชั่วโมง ๕๑ นาทีสำเร็จ ผมไม่เคยยิ้มอย่างมีความสุขแบบนี้มานานมากแล้ว พอนั่งพัก....ปวดขาราวกับขาจะขาดออกมาให้ได้ เดาว่าในระหว่างที่วิ่งที่มีสมาธิืจดจ่ออยู่กับเป้าหมายเรื่องของเวลาที่ต้องกาีืรทำให้ได้ ร่างกายคงหลั่งฮอร์โมนแอดรีนารีนออกมาจนทำให้เราคลายความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ พลังงานที่ฉีดออกมาทำให้เราสามารถทำในสิ่งเหลือเชื่อที่สำหรับตัวผมถือว่าเป็นปาฏิหาริย์ออกมา เคยดูเทปบันทึกคำให้สัมภาษณ์ของนักกีฬาเหรียญเงินโอลิมปิกมาราธอนหญิง ที่บาเซโลน่า และเหรียญทองแดงโอลิมปิกมาราธอนหญิง ที่แอตแลนต้า ที่ชื่อ ยูโกะ อาริโมโตะ ภายหลังจากที่เขาคว้าเหรียญทองแดง โดยเขากล่าวว่า ????????????????????--เป็นครั้งแรกที่ฉันรู้สึกชื่นชมตัวเอง-- การที่ผมแข่งมาราธอนวันนี้..ผมเข้าใจความรู้สึกของยูโกะมากๆ...ผมไม่เคยวิ่งระยะไกลขนาดนี้มาก่อน เกิดมาไม่เคยเล่นกีฬาโหดๆแบบนี้ แล้วก็ไม่เชื่อในพลังที่อยู่ภายในว่าจะวิ่งได้โดยไม่หยุดตลอดระยะทาง ๔๒.๑๙๕ กิโลเมตร ที่สำคัญผมพิสูจน์ว่าพลังจิตใต้สำนึกสามารถทำในสิ่งที่ผมเชื่อว่าผมสามารถวิ่งได้ด้วยเวลา ๔ ชั่วโมง ๕๗ นาทีให้กลายเป็นจริงได้ มันเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่แม้แต่ตัวผมก็ตอบไม่ได้จนถึงตอนนี้ว่าไปเอาแรงมาจากไหน เป็นไปได้อย่างไรที่ตอนแข่งจะทำเวลาดีกว่าตอนซ้อมถึง ๑ ชั่วโมง เวลาที่ผมทำได้ในการแข่งขันโตเกียวอารากาว่ามาราธอนอาจจะไม่ใช่เวลาที่เร็วนักเมื่อเปรียบเทียบกับนักวิ่งอีกหลายๆท่าน แต่สำหรับผม...นี่เป็นรางวัลตอบแทนผลของความพยายามที่ผมไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการวิ่ง ๔๒.๑๙๕ กิโลเมตรที่ผมภูมิใจมากๆ การวิ่งมาราธอนให้ข้อคิดดีๆแก่ผมหลายๆอย่าง " มาราธอนก็เหมือนชีวิตของผู้คน คุณอาจจะทำเวลาได้ไม่ดีในช่วง ๑๐ กิโลเมตรแรก หรือว่า ๒๐ กิโลเมตรแรก แต่ไม่ว่าคุณจะด่าทอตัวเองอย่างไรคุณก็แก้ไขอะไรมันไม่ได้ สิ่งที่สำคัญกว่าคือ คุณควรทิ้งเวลาที่วิ่งผ่านมาในอดีตไว้ข้างหลังและหาทางว่าจะวิ่งต่อไปอย่างไรให้ระยะทางที่เหลืออีก ๒๒ กิโลเมตรกว่าๆเป็นเวลาที่ดีกว่าเดิม เหมือนกับในชีวิตจริงของผู้คน เรื่องในอดีต..ไม่ว่าคุณจะผิดพลาดอย่างไร คุณย้อนกลับไปแก้ไขชีวิตในอดีตไม่ได้ แต่จะคิดหาทางทำอย่างไรให้ชีวิตจากนี้ไปเป็นชีวิตที่ดีกว่า โดยไม่เสียเวลามานั่งคร่ำครวญกับอดีตที่แก้ไขไม่ได้ ตอนที่เราวิ่งมาราธอน...มีความเหน็ดเหนื่อย มันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าเราหยุดวิ่งเฉยๆ ไม่ยอมวิ่งต่อ เราย่อมไปไม่ถึงเป้าหมาย ความพยายามที่เราพยายามมาทั้งหมดก็สูญเปล่า ไม่มีใครช่วยเราให้ไปถึงเป้าหมายได้นอกจากตัวเราเอง ถ้าเราพยายาม..โดยไม่ละความตั้งใจ...เราย่อมมีผลลัพธ์คือเป้าหมายเป็นของตอบแทน จะเร็วหรือช้าก็อยู่ที่ฝีเท้าที่เรารู้จักเร่งหรือว่าแผ่วเบาเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้น ในชีวิตจริงของผู้คนก็เป็นแบบนั้นไม่ใช่หรือ? ทุกคนมีกรรมเป็นของตนเอง คนที่ไม่ละความเพียรย่อมบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ จะเร็วหรือว่าช้าขึ้นอยู่กับอุบายในการใช้ความเพียรและใช้ปัญญาในการพัฒนาตนหาทางแก้ไขสิ่งต่างๆให้สอดคล้องกับสถานการณ์เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ คนที่ละวางความเพียรเพราะเห็นแก่ความเหนื่อยหน่าย ความยากลำบาก...โอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ย่อมดูเหมือนไกลออกไปเรื่อยๆ หรืออาจจะไม่มีโอกาสสัมผัสเลย สิ่งที่ตั้งใจไว้ก็เป็นได้แค่สิ่งที่ตั้งใจ ไม่มีโอกาสได้บรรลุความตั้งใจ" ภายหลังจากเสร็จสิ้นการแข่งขันโตเกียวอารากาว่ามาราธอน...ผมรู้สึกเหมือนชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ มีความหวัง และประสบการณ์จากการวิ่งมาราธอนครั้งนั้นเปลี่ยนเป็นพลังขับดันให้ผมเดินหน้าทำในสิ่งที่ยากๆต่อไปโดยไม่ลดละความตั้งใจ มีคนเปรียบเทียบว่าหลักสูตรปริญญาเอกเหมือนวิ่งมาราธอน...ผมว่าเขาเปรียบได้ไม่ผิดนัก หลายๆคนที่คิดว่าหลักสูตรปริญญาเอกภายหลังจากเรียนจบดูโก้เก๋ แต่พอเข้ามาเรียนจริงๆ..หลายคนเลิกล้มความตั้งใจกลางคันเพราะเขาเหนื่อย เขาท้อมากๆ กับอนาคตที่มองไม่เห็นหนทางชัดเจนว่าจะจบได้เมื่อไหร่? เพราะชีวิตนักศึกษาปริญญาเอกขึ้นอยู่กับคำพิพากษาของอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเดียว ถ้าเพียงอาจารย์ไม่เมตตา...จะจบเมื่อไหร่ก็ตอบไม่ได้ ดังนั้นชีวิตจริงของนักศึกษาปริญญาเอก...จึงไม่ได้สวยหรูนัก แต่ก็มีนักศึกษาปริญญาเอกจำนวนมากที่อดทนถึงที่สุด เพราะเขาตั้งใจเพื่อจะจบหลักสูตรปริญญาเอก...เขาอาจจะใช้เวลามากกว่า ๕ ปี หรือบางคนกว่า ๑๐ ปีที่จะฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อสำเร็จการศึกษา ในที่สุดเขามีปริญญาเอกเป็นรางวัลตอบแทน จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัย

วันพุธ, พฤศจิกายน 08, 2549

 

http://www.nkgen.com/19.htm

วิปัสสนูปกิเลส หรืออุปกิเลส ๑๐ แห่งวิปัสสนา หมายถึง สิ่งที่ทําให้ใจขุ่นมัวหรือหลง จึงทําให้รับธรรมได้ยาก ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนา กล่าวโดยย่อก็คือ กิเลสที่เกิดขึ้นมาจากการปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง จึงหมายรวมถึงสมาธิและฌานอันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติวิปัสสนาด้วย เป็นกิเลสชนิดที่ทําให้ติดได้อย่างเหนียวแน่นและยาวนานและให้โทษรุนแรงได้ ที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงญาณหรือความเข้าใจยังไม่พร้อมบริบูรณ์ จึงไปติดอยู่ในผลของสมาธิหรือฌานอย่างผิดๆคือติดเพลิน หรือมิจฉาญาณด้วยความเข้าใจยังไม่ถูกต้องหรืออวิชชาเป็นเหตุนั่นเอง และถ้าไม่รู้ระลึกเลยโดยไม่แก้ไขแล้วก็จักติดอยู่ที่นี่ทําให้ไม่สามารถเข้าไปถึงปัญญาชอบ(สัมมาญาณ)อย่างแท้จริงได้ ตลอดจนส่งผลร้ายอย่างรุนแรงทางด้านอื่นๆ คือ ก่อให้เกิดผลร้ายทั้งทางจิต เช่น หดหู่ วิกลจริต วิปลาส และทางกาย เช่น เจ็บปวด, เจ็บป่วยต่างๆ ตามมาอย่างมากมายเกินคาดคิด (อ่านรายละเอียดใน ติดสุข) ดังนั้นเมื่อเกิดผลร้ายขึ้นจึงไม่รู้ตัวอีกเสียด้วยว่าเป็นเพราะปฏิบัติผิดด้วยอวิชชา
"เจ้าวิปัสสนูปกิเลสนี้ มีอิทธิและอํานาจ จะทําให้เกิดความน้อมใจเชื่อ(webmaster - อธิโมกข์)อย่างรุนแรงโดยไม่รู้เท่าทันว่าเป็นการสําคัญผิด ซึ่งเป็นการสําคัญผิดอย่างสนิทสนมแนบเนียน และเกิดความภูมิใจในตนเองอยู่เงียบๆ บางคนถึงสําคัญตนว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วยซํ้า บางรายสําคัญผิดอย่างมีจิตกําเริบยโสโอหัง หรือถึงขนาดที่เรียกกันว่าเป็นบ้าวิกลจริตก็มี " ( อตุโล ไม่มีใดเทียม หน้า๑๑๙ )
"อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจมุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้ว ก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก........" (จากโมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทส เทสก์รังสี)
"อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมด ก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้น..........." (จากโมกขุบายวิธี โดย หลวงปู่เทส เทสก์รังสี)
วิปัสสนูปกิเลส
//---- Choice of variables ----
glow_color="blue"
glow_min=2
glow_max=5
glow_speed=300
function f_glow(){glow_size+=glow_const
if (glow_size>glow_max glow_size

วิปัสสนูปกิเลส หรือ อุปกิเลส ๑๐ นี้ ดูจากหัวข้อทั้ง ๑๐ แล้ว ดูอย่างไม่พิจารณา ดูแต่ตามสภาพ ดูชื่อ ดูแล้วน่าชื่นชมน่ายินดี ชื่อเหมือนข้อธรรมสําคัญๆทางพระพุทธศาสนา แต่กลับหมายถึงการปฏิบัติแบบผิดๆที่เป็นโทษ ตรงข้ามกับข้อธรรมนั้นๆ เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งการปฏิบัติสมถวิปัสสนา ซึ่งเกิดแก่ผู้ได้สมถวิปัสสนาอ่อนๆ แล้วเกิดความหลงผิด,เข้าใจผิดคิดว่า ตนประสพความสําเร็จ หรือบรรลุมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่งแล้ว อันมักเกิดขึ้นจากผลของการปฏิบัติสมถสมาธิหรือฌานอย่างผิดๆเป็นเหตุปัจจัย คือเน้นปฏิบัติแต่สมาธิแต่ขาดการวิปัสสนาให้เกิดปัญญา จึงพาให้เกิดการทะนงตน(มานะ)และหลงผิด หลงยึดด้วยทิฏฐุปาทานหรือสีลัพพตุปาทานโดยไม่รู้ตัว และบังเกิดผลร้ายบางประการ ทั้งต่อกายและจิตและบุคคลรอบข้างอย่างรุนแรง และทำให้ไม่สามารถดําเนินก้าวหน้าต่อไปใน "วิปัสสนาญาณ" อันถูกต้องดีงามได้
อุปกิเลส๑๐แห่งวิปัสสนา อันมี ๑๐ มีดั่งนี้
๑. โอภาส หรือแสง เช่น นิมิต เห็นแสงสว่างต่างๆ เห็นแสงสว่างรอบๆสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น พระพุทธรูปที่เป็นกสิณ หรือเห็นเจิดจ้าสว่างไสวไปทั่ว หรือแสงออกจากร่างกายตน, รูปนิมิตต่างๆ แล้วไปน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์อย่างเป็นจริงเป็นจัง สิ่งเหล่านี้ความจริงแล้วต้องเกิดขึ้นอันเป็นปกติตามธรรมชาติของจิตเมื่อเป็นฌานสมาธิ เกิดจากภวังค์ ยิ่งโดยเฉพาะในระยะแรกๆ แต่ทําให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดไปน้อมเชื่อ น้อมคิดปรุงแต่งไปว่า เป็น บุญ อิทธิปาฏิหาริย์ อันตื่นตา ตื่นใจ ไม่เคยประสบมาก่อน เลยไปยึดมั่นหมายมั่นพึงพอใจหรือน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริงในโอภาสหรือนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นด้วยอวิชชา จึงทําให้ติดเพลิน(นันทิ-อันคือตัณหา)อยู่ในวังวนของความตื่นตาตื่นใจ เมื่อเกิดนันทิอันคือตัณหา ย่อมเกิดอุปาทาน ภพ(รูปภพ) ชาติ คือการเกิดขึ้นของกองทุกข์ตามมาโดยไม่รู้ตัว และเกิดความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆนาๆไปทางฤทธิ์ ทางเดช ทางบุญ ทางกุศลโดยไม่รู้ตัว
๒. ปิติ ความอิ่มเอิบ ซาบซ่าน อันเกิดขึ้นทั้งต่อกายและใจอันได้จากการปฏิบัติสมถะหรือสมาธิ ปีติมีอยู่ ๕ แบบซึ่งก่อให้เกิดความอัศจรรย์ ความสุข ความสบาย ความพิศวง พึงพอใจ หรือลุ่มหลง แปลกใจ ทําให้หลงใหลอยู่ในเวทนาและสังขารขันธ์นี้ว่าเป็นของดีของวิเศษ โดยลืมตัวเพราะอวิชชาความไม่รู้ว่าเป็นธรรมชาติธรรมดาๆ อันพึงเกิดแก่ผู้ปฏิบัติถูกต้องทั่วๆไปเป็นธรรมดา จึงเกิดการติดเพลิน ไปยึดไปอยากด้วยอธิโมกข์, จริงๆแล้วองค์ฌานต่างๆอันมี วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข อุเบกขา(เอกคตารมณ์)ล้วนเป็นเพียงแค่ทางผ่านของฌานสมาธิ อันบังเกิดแก่ทุกผู้นาม ทุกเผ่าพันธ์ ทุกชาติ ทุกศาสนา อันมีมาแต่ก่อนพุทธกาลเสียอีก (ดู ติดปีติ,สุข ในฌาน)
๓. ญาณ ความรู้หรือปัญญา แต่ญาณในวิปัสสนูปกิเลส หรือเป็นมิจฉาญาณนั่นเอง เป็นเพียงความรู้สึกว่าตนเองมีภูมิรู้ภูมิธรรมหรือความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆหรือธรรต่างๆดีแล้ว ถูกต้องถ่องแท้แล้ว หรือเกิดแต่นามนิมิต(ความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงขึ้นในใจ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ มิได้เกิดแต่ปัญญาหรือเป็นไปตามหลักเหตุผล) เสียงนิมิต(เสียงที่ผุดขึ้นได้ยินแต่นักปฏิบัติ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นสำคัญ) แต่เกิดแต่ความเข้าไม่ถูกต้องหรือมิจฉาญาณ แล้วน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์ ดังนั้นเมื่อคิดว่ามีความรู้ความเจ้าใจจากมิจฉาญาณดังกล่าว จึงทำให้เข้าใจผิด หรือหยุดการพิจารณาด้วยปัญญาเสียกลางคัน ก่อนที่จะไปถึงจุดหมายด้วยคิดว่าเข้าใจดีถูกต้องแล้ว หรือคิว่าได้มรรคผลใดแล้ว จึงทําให้เกิดทิฏฐิ ไม่รับฟังความคิดความเห็นจากผู้รู้หรือผู้อื่นที่แนะนําข้อผิดพลาดได้ เพราะหลงคิดและเข้าใจไปว่าตนเองเข้าใจถูกต้องแล้วอย่างแรงกล้าด้วยอธิโมกข์, เมื่อผู้ใดพูดก็โกรธหรือไม่รับฟังไปพิจารณา ทําให้การเจริญวิปัสสนาในธรรมต้องสะดุดหยุดชงักไปโดยไม่รู้ตัว และเพราะญาณความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้อง อันยิ่งทำให้การปฏิบัติผิดไปจากแนวทางและจุดมุ่งหมายอันคือนิโรธ อันมักเกิดขึ้นเป็นประจําในการปฏิบัติ, หรือไปยึดติดแต่ปัญญาความรู้ความเข้าใจ(ญาณ)ที่เกิดขึ้นจนขาดการปฏิบัติ, หรือเมื่อญาณความเข้าใจนั้นไม่ถูกต้องและไปยึดปฏิบัติตามเข้าจึงเกิดการออกนอกลู่นอกทางเป็นโทษโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา
๔. ปัสสัทธิ มีความรู้สึกสงบกาย สงบใจ ไม่ทุกข์ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย ทําให้หยุดการพัฒนาเพราะคิดว่า สงบกาย สงบใจดีแล้ว พอใจแล้ว พอพ้นทุกข์แล้ว หรือมีปัญญาแค่นี้ ทําให้ตัดทอนโอกาสอันดีงามในการก้าวต่อไปข้างหน้า เกิดการหยุดชงักงัน ไม่ภาวนาให้เจริญต่อไป และเกิดการติดเพลินจมแช่อยู่ในความสงบ ซึ่งในบางครั้งเกิดจากการจดจ้อง จดจ่อ หรือหมกมุ่นความสงบในกายในจิตของตนเอง จนไม่สังเกตุรู้สภาวะรอบข้างใดๆอย่างขาดสติเท่าที่ควร ตลอดจนทำให้ธาตุขันธ์แปรปรวน เป็นผลของฌานสมาธิอันไม่เที่ยง ซึ่งมีการแปรปรวนเป็นธรรมดา เกิดการครอบงําโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา
๕. สุข มีความรู้สึกเป็นสุข ความสบาย ทั้งทางใจและทางกาย สบายกาย สบายใจล้วนแต่เป็นผลจากสมถะ อันยังให้เกิดสารคัดหลั่ง จึงทำเกิดการติดเพลิน(นันทิ-ตัณหา)ไปยึดในความพึงพอใจในผลของสุข สงบ อันเกิดแต่ฌานและสมาธินี้ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวเพราะความไม่รู้ จึงทําให้ก่อเกิดโทษต่างๆตามมา อันเป็นผลเสียทั้งต่อกายและต่อจิตอย่างรุนแรง ทําให้การปฏิบัติธรรมต้องหยุดชงักงัน เพราะหลงติดด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ (ติดปิติ,สุข,อุเบกขา ในฌาน)
๖. อธิโมกข์ ศรัทธาหรือน้อมใจเชื่อแต่เป็นไปอย่างขาดปัญญา กล่าวคือขาดเหตุผลหรือที่มาที่ไปนั่นเอง เนื่องจากประสบผลสําเร็จบางส่วนในการปฏิบัติ ทำให้เกิดผลบางสิ่งขึ้น จึงทําให้เกิดซาบซึ้ง เลื่อมใส ศรัทธาอย่างแรงกล้า จิตสว่างเจิดจ้าหมดความเศร้าหมอง จึงเกิดการหมายยึดเป็นที่พึ่งทางใจโดยไม่รู้ตัวแต่เป็นไปแบบงมงาย กล่าวคืออย่างขาดเหตุผล ดังเช่น หมายยึดอย่างผิดๆใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และครูบาอาจารย์ เจ้าลัทธิ ตลอดจนน้อมเชื่อในนิมิตต่างๆ อย่างแรงกล้า แต่เป็นไปอย่างผิดๆคืออย่างงมงายขาดปัญญา เกิดแต่ความเชื่อมิได้เกิดแต่ความเข้าใจ เช่น อยากสร้างโบสถ์วิหารใหญ่เกินตัวเพื่อทดแทนพระคุณ อยากสอน, อยากให้ผู้อื่นได้ปฏิบัติบ้างเหมือนตน อยากทําบุญทําทานต่างๆเกินฐานะ ทําบุญสะเดาะเคราะห์กรรมต่างๆ น้อมเชื่อในนิมิตที่เห็นอย่างแน่นแฟ้น น้อมเชื่อปฏิบัติตามคำสอนแต่อย่างงมงายคือน้อมเชื่อโดยขาดการพิจารณาและความเข้าใจ เช่นน้อมเชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ อย่างขาดปัญญา คือเชื่ออย่างเดียวว่าถูกโดยขาดการพิจารณาด้วยปัญญา ซึ่งล้วนแต่เป็นไปในลักษณะของทั้งทิฏฐุปาทานและสีลัพพตุปาทานคืออุปาทานชนิดยึดมั่นพึงพอใจในความคิดความเชื่อของตน แบบผิดๆหรืออย่างงมงาย ขาดปัญญาในการไตร่ตรองว่าถูกหรือผิด, ศรัทธาที่ถูกนั้นเป็นสิ่งจําเป็นในการปฏิบัติ แต่ต้องไม่เป็นไปอย่างงมงาย ประกอบด้วยเหตุผล จึงดําเนินไปด้วยปัญญา(สัมมาปัญญา)จึงจักถูกต้อง ไม่ใช่ด้วยอธิโมกข์
๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่พอดี แต่ในวิปัสสนูปกิเลสหมายถึง เพียรมากจนเกินพอดี เกินเหตุชนิดมุทะลุ จึงย่อมตึงเครียดต่อการปฏิบัติมักเนื่องจากปฏิบัติผิดวิธี หรือติดตรึงใจในผลความสุขความสงบความสบาย หรือมีความเข้าใจแล้วต้องการให้บรรลุหรือสมประสงค์โดยไวด้วยความเพียร แต่ลืมทางสายกลาง ทําให้เกินพอดี ทําให้เกิดอาการเครียดต่างๆทั้งต่อจิต และกาย และมักเกิดจากผลที่ดีที่บังเกิดขึ้นในระยะแรกๆจากการปฏิบัติสมถสมาธิอันเกิดแต่อำนาจขององค์ฌานหรือสมาธิ จึงเป็นแรงขับดันให้เพียรปฏิบัติอย่างมุทะลุลืมตัว โดยไม่รู้ตัว
๘. อุปัฏฐานะ สติชัด แต่ที่นี้หมายถึง สติแก่กล้าเกินพอดี สติมากเกินพอดีไปในการปฏิบัติ เช่น จดจ้อง จดจ่อ อย่างต่อเนื่อง อย่างแรงกล้าแต่เฉพาะในสิ่งที่ยึดเป็นอารมณ์ หรือเฉพาะการปฏิบัติที่ปฏิบัติอยู่แต่เท่านั้น กล่าวคือ สติจดจ่อแช่นิ่งในอารมณ์เดียว แต่ไม่มีสติหรือขาดสติในสิ่งอื่นๆอันควรแก่การใช้งาน กล่าวคือ ขาดสัมปชัญญะความมีสติต่อเนื่องสัมพันธ์ในสิ่งอื่น เพ่งจดจ่อแต่สิ่งที่ปฏิบัติแต่เกินพอดี ทําให้สติล้าตึงเครียด จนเกิดอาการต่างๆเพราะความตึงเครียดจากการปฏิบัติผิดมากเกินไป ขาดสติในสิ่งที่ไม่ได้กำหนด จนไม่รู้ผิดชอบชั่วดี หรือไม่รู้ในสิ่งที่ถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร กล่าวโดยย่อก็คือเป็นมิจฉาสติ, สตินั้นก็เป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง จึงมีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา มีการเกิดดับๆๆเป็นธรรมดา จึงเป็นไปในลักษณะรู้เท่าทันแล้วเกิดขึ้นจนชำนาญอย่างยิ่ง กล่าวคือสติเกิดขึ้นเองเมื่อผัสสะกับอารมณ์ต่างๆได้เองเหมือนไม่ได้ตั้งใจหรือมหาสตินั่นเอง การตั้งจิตอยู่กับสติตลอดเวลาอย่างจดจ้องจดจ่อจึงทำให้เกิดอาการล้า และสติชัดเกินไป จนไม่รับรู้ในสิ่งอันควรอื่นๆนั่นเอง
๙. อุเบกขา ความสงบ การวางเฉย แต่อย่างผิดๆ รู้สึกสงบ ไม่ทุกข์ไม่ร้อน จึงไปเข้าใจผิดว่าดีแล้ว ถูกต้องแล้ว แต่เป็นไปในลักษณะสงบนิ่งอยู่ภายในจิต อย่างติดเพลิน เฉื่อยชา ใจลอย ไม่ยินดียินร้าย ไม่นิ่มนวลควรแก่การใช้งาน ขาดความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เวลาจิตหวั่นไหวหลุดจากองค์ฌานก็จะโกรธได้ง่ายๆ, แล้วไปเข้าใจผิดว่าเป็นอุเบกขาในโพชฌงค์ ที่หมายถึงการวางเฉยหรือใจเป็นกลางที่ถูกต้อง คือรู้เห็นตามความเป็นจริงในคุณโทษของสภาวะธรรมนั้นๆ แล้ววางใจเป็นกลางอุเบกขา วางทีเฉยดูโดยการไม่เอนเอียงไม่แทรกแซงไปปรุงแต่งทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย,ดีหรือชั่วเช่น เราดี หรือเขาชั่ว, เราถูก หรือเขาผิด, แต่กลับกลายเป็นอุเบกขาที่เกิดจากการปล่อยแช่เลื่อนไหลอยู่ในความสงบของมิจฉาสมาธิหรือฌานแบบผิดๆทั้งในสภาพที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว หรือเกิดจากการปฏิบัติชนิดกดข่มไว้ มิได้เกิดแต่ปัญญาที่เข้าใจ ล้วนแต่เป็นผลของการปฏิบัติสมถะสมาธิและวิปัสสนาผิดวิธีอย่างแน่นอน
๑๐. นิกันติ ความพอใจ มีความพึงพอใจในการปฏิบัติต่างๆของตนที่ผ่านมา พอใจในผลขององค์ฌานหรือสมาธิ เช่น ปีติ สุข อุเบกขา อันยังให้เกิดความสุข ความเบาสบาย, หรือโอภาส-ความสว่าง แสงสีต่างๆ หรือรูปนิมิต, หรือมิจฉาญาณที่เข้าใจผิดไปว่าได้บุญได้กุศล ตลอดจนพอใจในนิมิตหรือปาฏิหาริย์ต่างๆที่เกิดขึ้น หรือคิดขึ้นภายใต้อํานาจของสมถะที่ปฏิบัติและสารคัดหลั่งบางตัวที่มากเกินขนาดจากการปฏิบัติไปติดจมแช่อยู่เป็นระยะเวลานานๆ จะโดยรู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี จึงทําให้เกิดผลร้ายต่อการปฏิบัติอย่างรุนแรง ทั้งต่อกายอันจะเกิดการเจ็บป่วยต่างๆนาๆและต่อจิต, จึงก่อให้เกิดความพยายามปฏิบัติในสิ่งต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้คงอยู่ ทำให้เป็นขึ้น อยู่ตลอดเวลา
นักปฏิบัติใหม่ ที่เพิ่งเริ่มปฏิบัติจึงควรมีความเข้าใจในฌานสมาธิอย่างถูกต้อง ต้องรู้ว่าเมื่อปฏิบัติไปถูกต้องทางฌานสมาธิแล้ว จักมีอาการหรือผลขององค์ฌาน หรือผลของสมาธิเกิดขึ้นเป็นธรรมดา จึงต้องมีความเข้าใจอย่างแน่วแน่ว่านั่น เป็นอาการของจิตตามธรรมชาติธรรมดาๆ อันต้องเป็นเช่นนั้นเองเมื่อจิตมีอาการรวมตั้งมั่นขึ้น จึงอย่าได้ไปหลงใน แสง สี เสียง โดยเฉพาะภาพนิมิต เสียงนิมิต นามนิมิต ไม่ว่าจะเป็นนิมิต รูปของพระพุทธเจ้า อรหันต์ เทวดา สวรรค์ วิมานต่างๆ ตลอดจนความรู้สึกใดๆ, สมาธิหรือฌานเป็นเพียงทางผ่าน หรือแค่ขั้นบันได(บาทฐาน)เป็นเครื่องสนับสนุนเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าในวิปัสสนาญาณเท่านั้น คือใช้กําลังของจิตและความสงบไม่ซัดส่ายที่เกิดขึ้นนั้น อันย่อมมีกำลังมากกว่าปกติธรรมดา ไปพิจารณาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญาญาณ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมอย่างถูกต้องถึงแก่นถึงแกน
วิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้เกิดแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันต้องมีสมาธิหรือฌานเป็นบาทฐานนั่นเอง แต่สมาธิหรือฌานนั้นเป็นมิจฉาสมาธิเสีย จึงเกิดการติดขัดไม่สามารถก้าวหน้าต่อไปได้ จนเกิดผลเสียร้ายแรงได้ ก็เพราะอุปกิเลสทั้ง ๑๐ แห่งวิปัสสนาเหล่านี้ นั่นเอง กล่าวคือ มิได้เกิดขึ้นเพราะธรรม จริงๆแล้วสามารถกล่าวได้ว่า สิ่งที่เป็นเหตุคือเกิดขึ้นจากการปฏิบัติเบี่ยงเบนผิดแนวทางด้วยอวิชชาไปในแนวทางมิจฉาสมาธินั่นเอง จึงส่งผลให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้น
ผลของอุปกิเลสนี้อาจเป็นข้อใดข้อหนึ่งรุนแรง แต่มักเกิดหลายๆข้อ และบางข้อเมื่อเป็นแล้วก็ส่งผลให้เกิดอุปกิเลสในข้ออื่นๆด้วย อย่างผู้เขียนเองเคยเกิดเคยเป็นครบทุกข้อ แทบเอาตัวไม่รอด จึงควรหมั่นตรวจสอบตนเองเป็นครั้งคราว โดยต้องเห็นตามความเป็นจริง ยอมรับตามความเป็นจริง เพราะโดยปกตินั้นมายาจิตของตัวตนทำให้หลง โดยการโกหกหรือหลอกลวงแมเตัวตนเอง จึงไม่ยอมรับหรือไม่เห็นเป็นไปตามความเป็นจริง โดยเฉพาะถ้าเกี่ยวกับตัวตนเอง(ทิฏฐุปาทาน) โดยการเลี่ยงไปไม่คิดให้เห็นตามความเป็นจริงบ้าง เพราะปัญญายังไม่แก่กล้าพอบ้าง หมั่นสังเกตุว่ามีวิปัสสนูปกิเลสใดเกิดขึ้น และเพียรพยายามแก้ไขเสียแต่ต้นๆมือ หรือปรึกษาผู้รู้ ก่อนที่จะสายเกินแก้หรือติดปลักอยู่กับสิ่งไร้สาระที่ให้โทษนี้ เป็นเวลานานๆ อันทําใจให้เศร้าหมองในที่สุด และทําให้รับคุณธรรมได้ยาก ตลอดจนส่งผลร้ายอย่างรุนแรงต่อกายและจิตของผู้ปฏิบัติเอง ตลอดจนบุคคลรอบข้างอันเป็นที่รัก
ผู้เขียนขอเน้นวิปัสสนูปกิเลสนี้ ในหัวข้อทั้ง ๑๐ ชื่อเหมือนกันกับหลักธรรมอันสําคัญยิ่ง อันฟังดูน่าปฏิบัติ แต่หมายถึงเป็นไปอย่างผิดๆ ผู้เขียนมีความรู้จากการอ่านในเรื่องนี้มาเกือบปีก่อนเข้าใจในธรรมบ้าง และครั้งนั้นก็ได้พิจารณาตนเองในอุปกิเลส ๑๐ นี้ แต่กลับมองไม่เห็น คือคิดว่าน้อยมากจนไม่ต้องใส่ใจ เพราะไม่ได้วางใจเป็นกลางด้วยอำนาจของทิฏฐุปาทานอันต้องมีในปุถุชน กาลต่อมาเมื่อเข้าใจในธรรมดีขึ้น แล้วมองย้อนระลึกขันธ์หรือชาติภพที่เคยเกิดเคยเป็น จึงรู้ตัวว่าผู้เขียนหลงจมปลักอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสอย่างงมงายหรืออวิชชานั่นเอง
ต้องการชี้ให้เห็นว่า แม้รู้จักวิปัสสนูปกิเลสดีแล้ว ยังต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและที่สําคัญที่สุดคือใจเป็นกลาง วางความเชื่อความยึดลงสักชั่วขณะ พิจารณาตามความเป็นจริง อย่าให้เป็นไปตามแต่ความเชื่อความคิดของตนเองแต่ฝ่ายเดียว คือ ไม่ถูกครอบงําโดย "ทิฏฐุปาทาน" ในความเชื่อ, ความเข้าใจ หรือทฤษฎีของตน, แล้วพิจารณาเพื่อจักได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติ อันส่งผลร้ายแก่นักปฏิบัติเอง ดังที่เกิดมาแล้วกับผู้เขียน
ข้อสำคัญ วิปัสสนูปกิเลสนี้เกิดขึ้นตลอดสายของการปฏิบัติ !
ถึงแม้ว่าปฎิบัติวิปัสสนาอย่างถูกต้อง วิปัสสนูปกิเลสนี้ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ แต่เบาบางและเป็นไปในลักษณะลดน้อยถอยลงไปทุกขณะตามภูมิรู้ภูมิญาณที่เกิดขึ้น จึงควรมีความระมัดระวังเสียแต่แรกๆด้วย, แต่เมื่อใดที่การปฏิบัตินั้นเป็นไปอย่างผิดๆหรือเป็นมิจฉาสมาธิ เมื่อนั้นวิปัสสนูปกิเลสจะรุนแรงและเฟื่องฟูขึ้นตลอดเวลาในลักษณะเพิ่มพูนสะสมจนเป็นอันตรายต่อตนเองอย่างรุนแรงโดยไม่รู้ตัว เพราะการถูกครอบงำของจิต
มีพระอรรถกถาจารย์ ได้กล่าวไว้ว่า "วิปัสสนูปกิเลสนี้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อเริ่มเกิด อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หรือญาณที่ ๔ใหม่ๆ อันเป็นญาณเกี่ยวกับการเห็นการเกิดขึ้นและดับไปของขันธ์ ๕ หรือสังขารในปัจจุบันจิตหรือปัจจุบันธรรม ในขณะที่เริ่มเกิดขึ้นใหม่ๆนี้ เรียกย่อยลงไปว่า ดรุณวิปัสสนา(วิปัสสนาญาณอ่อนๆ) ถ้ารู้เท่าทันผ่านพ้นไปได้ ไม่ไปติดไปยึดในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นเช่นโอภาส สุข ปีติ ฯลฯ. อันแสนเย้ายวน ชวนให้หลงผิดและติดใจอยู่ในวังวนของความพิศดาร ก็ถือว่าพ้นวิกฤติของวิปัสสนูปกิเลสไปได้"
ข้อสังเกตุง่ายๆอีกประการหนึ่งคือ ถ้าปฏิบัติแล้วเกิดอาการกระหยิ่มยิ้มย่องว่า ข้ารู้แล้ว ข้าเข้าใจแล้ว ข้าดีแล้ว มีมานะและทิฏฐิ จิตเก่ง จิตกล้า คิดเข้าใจว่าได้มรรคได้ผลทั้งๆที่ไม่ได้วิปัสสนาจนเกิดความเข้าใจเกิดนิพพิทา หรือไปยึดหมายใดๆ ตลอดจนการฝักใฝ่หรือสนใจในอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ นั่นล้วนเป็นอาการของวิปัสสนูปกิเลสล้วนสิ้น เพราะการปฏิบัติที่ถูกต้องนั้นต้องเกิดนิพพิทา คือเกิดความหน่ายคลายกำหนัด คลายความชื่นชมความยินดี เนื่องจากไปรู้ตามความเป็นจริงของธรรม จึงคลายความยึดความอยากหรือตัณหาในสังขารอันหมายถึงสิ่งต่างๆเหล่านั้น จึงไม่ใช่อาการของเหล่าผู้มีจิตเก่ง จิตกล้า มีมานะทิฏฐิสูง
___________

ผู้เขียนขอกราบอารธนาคําสอนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ในเรื่องโทษของอุปกิเลส๑๐ จากหนังสือโมกขุบายวิธี
โทษของอุปกิเลส๑๐
ลักษณะอาการและการละกิเลส เป็นต้น ของฌานและสมาธิ ผิดกันดังแสดงมา ฌานมีความน้อมเชื่อมาก วิริยะและปีติแรง กำลังใจกล้า โลดโผนทุกๆ อย่าง สรุปแล้ว เมื่อจิตน้อมไปตามอารมณ์ของฌาน ถ้าผู้ติดฌาน หลงฌานอย่างหนักหน่วงแล้ว จิตของตนแทบจะไม่เป็นตัวของตัวเองเสียเลยก็ว่าได้ ที่จริงฌานเมื่อเกิดขึ้นเป็นของน่าตื่นเต้น ผู้ฝึกหัดใหม่จึงชอบนัก แต่ฌานเป็นของได้ง่ายพลันหาย เพราะตกอยู่ใต้อำนาจของโลกธรรม๘ ส่วน(สัมมา)สมาธิเมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นไปอย่างเรียบๆ เพราะมีสติรอบคอบตามภูมิของตน และยึดเอาไตรลักษณะเป็นอารมณ์ ไม่หลงลืมตัว ค่อยได้ค่อยเป็นไปละเอียดลงโดยลำดับ ได้แล้วไม่ค่อยเสื่อมเป็นโลกุตตรธรรม บางคนจะไม่รู้สึกตื่นเต้นในเมื่อตนได้สมาธิ เพราะไม่ได้คำนึงถึงอาการที่ตนได้มี แต่ตั้งหน้าจะทำสมาธินั้นให้มั่นและละเอียดถ่ายเดียว ฌานเป็นของน่าสนุกสนาน มีเครื่องเล่นมาก มีเรื่องแปลกๆ ทำให้ผู้ไม่รู้เท่าตามความเป็นจริงหลงติดจมอยู่ในฌาน อาการที่จิตหลงติดจมอยู่นั้นคือโทษ ของอุปกิเลส๑๐ พึงสังเกตต่อไป
โอภาส แสงสว่างย่อมปรากฏในมโนทวารวิถี ขณะเมื่อจิตเข้าถึงฌาน (ภวังค์) เมื่อจิตน้อมเชื่อไปตามแสงสว่าง และแสงสว่างนั้นก็ขยายวงกว้างออกไป มีอาการแปลกๆ ต่างๆ เหลือที่จะพรรณา
ญาณ ความรู้สิ่งต่างๆ บางทีจนกำหนดตามไม่ทัน ไม่ทราบว่ารู้อะไรบ้าง ทั้งสิ่งที่เคยรู้เคยเห็น ทั้งสิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็น มิใช่รู้อยู่กับสิ่งที่รู้ ยังสอดส่ายไปตามอาการตลอดถึงคนอื่น สัตว์อื่น ทีแรก จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง นานๆ เข้าก็เหลว
ปีติ ทำให้อิ่มใจจนลืมตัว
ปัสสัทธิ ทำให้สงบจากอารมณ์ภายนอก กลับเข้ามายุ่งอยู่กับอารมณ์ภายในจนไม่เป็นอันกินอันนอน เมื่อเป็นอย่างนี้นานเข้า ธาตุย่อมกำเริบ จิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ
สุข ทำให้สบายอยู่ด้วยอาการทั้งหลายดังกล่าวมา ถึงกับไม่ต้องรับประทานข้าวน้ำก็มี
อธิโมกข์ ทำให้เกิดจิตน้อมเชื่อไปในนิมิตและแสงสว่าง ความรู้มีมากเท่าไร อุปกิเลสทั้ง ๑๐ ก็ยิ่งมีกำลังรุนแรงทวีขึ้น
ปัคคาหะ ทำให้เพียรกล้าไม่หยุดหย่อนท้อถอย มีญาณความรู้คอยกระซิบตักเตือนให้ทำอยู่เสมอ
อุปัฏฐาน ช่วยให้สติแข็งแกร่งอยู่เฉพาะในอารมณ์นั้น แต่ขาดสัมปชัญญะ ไม่รู้สิ่งที่ควรและไม่ควร
ถ้าอุปกิเลสทั้ง ๘ ตัวดังกล่าวมาหรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่งยังเกิดมีอยู่ อุเบกขา(ในวิปัสสนูปกิเลส)ก็จะไม่เกิด ถ้าทั้ง ๘ นั้นสงบลงแม้ชั่วขณะหนึ่ง อุเบกขา และ นิกันติ จึงจะเกิดขึ้น
อุปกิเลส ๑๐ นี้มิใช่จะเป็นโทษแก่วิปัสสนาเท่านั้น ยังสามารถทำให้เกิดวิปลาสต่างๆ จนต้องเสียผู้เสียคนไปก็ได้ เรื่องทั้งนี้เคยมีมาแล้วในอดีต หากอาจารย์ผู้สอนไม่เข้าใจ มุ่งส่งเสริมศิษย์ให้ยึดเอาเป็นของจริงแล้วก็จะทำให้ศิษย์เสียจนแก้ไม่ตก เมื่อมีเรื่องวิปลาสเกิดขึ้นเช่นนั้น ผู้รู้เท่าและเคยผ่านมาแล้วจึงจะแก้ได้
วิธีแก้วิปลาส
อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌานแล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่ทั้งหมดก็อย่างใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้นสำหรับนิสัยของบางคน แต่บางคนก็ไม่มีเลย(หมายถึงปฏิบัติมาอย่างถูกต้อง-ผู้เขียน) ถ้ามันเกิดขึ้นเราควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงทำความรู้เท่าว่า นี่เป็นอุปกิเลสเป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาปัญญา และอุปกิเลสนี้เกิดจากฌานหาใช่อริยมรรคไม่ ถึงแม้วิปัสสนาญาณ ๙ แปดข้อเบื้องต้นก็เช่นเดียวกัน อย่าได้น้อมจิตส่งไปตามด้วยเข้าใจว่าเป็นของจริงของแท้ พึงเข้าใจว่านั่นเป็นแต่เพียงภาพอันเกิดจากมโนสังขาร คือจิตปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจของฌานเท่านั้น พึงหยิบยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสินว่า อุปกิเลสทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะฌาน ฌานก็เป็นโลกิยะ อุปกิเลสก็เป็นโลกิยะ โลกิยะทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรนั้นแหละเป็นทุกข์ เพราะทนต่อความเที่ยงแท้ถาวรไม่ได้ แล้วก็แตกสลายดับไปตามสภาพของมันเอง ซึ่งไม่มีใครจะมีอำนาจห้ามปรามไม่ให้มันเป็นเช่นนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า อนัตตา เมื่อยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสิน ถ้าจิตเกิดปัญญาน้อมลงเห็นตามพระไตรลักษณะแล้ว จิตก็จะถอนออกจากอุปาทานที่เข้าไปยึดอุปกิเลสนั้น แล้วจะเกิดปัญญาญาณเดินตามทางอริยมรรคได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าแก้อย่างนั้นด้วยตนเองไม่ได้ผล คนอื่นช่วยแก้ก็ไม่สำเร็จ เพราะผู้เป็นหลงเข้าไปยึดมั่นสำคัญเอาเป็นจริงเป็นจังเสียแล้ว บางทีจนทำให้ซึมเซ่อมึนงงไปหมดก็ดี จึงควรใช้วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย
๒. เมื่อรู้เท่าทันและเห็นโทษอย่างนั้นแล้ว จงคอยระวังจิตอย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุขเอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้ และอย่ายึดเอาอารมณ์ใดๆ อันเป็นความสุขภายในของใจ แล้วจงเปลี่ยนอิริยาบถ ๔ ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้จิตรวม แต่ให้มีการงานทำเพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นแล้ว จิตเข้าไปยึดถือจนแน่นแฟ้นจนสำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่างๆ นานา มีทิฐิถือรั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ ทั้งหมด เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็ยากที่จะแก้ตัวเองได้ ถึงแม้อาจารย์หากไม่ชำนาญรู้จักปมด้อยของศิษย์ หรือไม่เคยผ่านเช่นนั้นมาก่อนแล้ว ก็ยากที่จะแก้เขาได้ ฉะนั้น จึงควรใช้ ...
วิธีที่ ๓ วิธีสุดท้าย คือใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัวหรือให้เกิดความโกรธอย่างสุดขีดเอาจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี แต่ให้ระวังอย่าให้หนีได้ ถ้าหนีไปแล้วจะไม่มีหนทางแก้ไขเลย เมื่อหายจากวิปลาสแล้วจึงทำความเข้าใจกันใหม่ วิธีสุดท้ายนี้ โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตได้ผลดีเลิศ
ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส ฉะนั้น วิธีแก้จึงไม่ค่อยผิดแผกกันนัก............
.........ผู้ปฏิบัติพึงระลึกเสมอว่า ภพกายหลงง่ายละยาก ภพจิตหลงยากละยาก นิมิตและญาณที่เกิดแต่ฌานก็หลงง่ายละยาก แต่ที่เกิดแต่สมาธิหลงยากละง่าย เพราะเกิดแต่สมาธิเป็นอุบายของปัญญาเพื่อให้ละถอนอุปธิเข้าถึงสารธรรมโดยตรง.
---------------
ข้อคิด
"ทุกข์ของขันธ์๕ทางกายและใจ นั้นเป็นสภาวะธรรมยังคงมีอยู่ แต่ไม่มี "อุปาทานทุกข์"
จริงๆแล้วที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นทุกข์กันอยู่ทุกขณะก็คือ "อุปาทานทุกข์ "นี้นั่นเอง
แต่ไม่รู้จึงจําแนกไม่ออก
พนมพร

ไปอ่านติดสุขในฌานและวิธีแก้ไข

แนะนํา
วิธีเจริญจิตภาวนา
ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
คลิกที่นี่เพื่อบันทึกหน้าวิธีเจริญจิตภาวนา ไว้ใน แฟ้มFavorites
หรือ ในหนังสือ อตุโล ไม่มีใดเทียม (หน้า๔๑๕)
ผู้เขียน-อันเป็นแนวทางเจริญสติและสัมมาสมาธิ ให้เห็นความคิดนึกปรุงแต่งอย่างถูกต้อง

This page is powered by Blogger. Isn't yours?